ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
#1
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
พรทิพย์แพงจันทร์, วราพร วงษ์ศิริวรรณ, เปรมจิตต์ ถิ่นคำ, ศิริลักษณ์ พุทธวงศ์, ศฬิษา สังวิเศษ, สิทธิพงศ์ ศรีสว่างวงศ์, ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์, ศศิธร ประพรม, รัชนีวรรณ ชูเชิด, สุทธินันท์ ประสาธน์สุวรรณ์ และอมฤต วงษ์ศิริ

          โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อเพิ่มคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากสารพิษ โดยดำเนินการระหว่างปี 2556 - 2558 ในพื นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการทดสอบในแปลงเกษตรกรที่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและน้ำดอกไม้เบอร์ 4 ทำการทดสอบเปรียบเทียบการผลิตมะม่วงปรับใช้ตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) กับวิธีเกษตรกร (วิธีเคมี) ผลการทดสอบพบว่า ในปี 2556 เกษตรกรเริ่มมีการเปรียบเทียบกรรมวิธีที่ได้วางไว้แต่ผลผลิตยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ สามารเก็บเกี่ยวและบันทึกข้อมูลได้ในปีที่ 2 ผลการทดสอบในปี 2557 - 2558 ในการผลิตมะม่วง พื้ นที่ 3 จังหวัด พบว่าผลผลิตและคุณภาพผลผลิตเฉลี่ย วิธีทดสอบสูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 2,082 และ 1,521 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 ผลผลิตที่ได้คุณภาพเฉลี่ยร้อยละ 96 และ 92 ตามลำดับ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในวิธีทดสอบให้ผลผลิตมีน้ำหนักผลและจำนวนสูงกว่าวิธีเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยทั่วไป คือ 454 และ 442 กรัมต่อผล และ 67 และ 53 ผลต่อต้น ตามลำดับ การผลิตมะม่วงได้รับผลตอนแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่า วิธีทดสอบเกษตรกรมีรายได้ ต้นทุน และผลตอบแทน 120,708 26,374 และ 94,335 บาทต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 87,754 26,480 และ 61,275 บาทต่อไร่ ตามลำดับ สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) เฉลี่ย 4.6 และ 3.7 ตามลำดับ เห็นได้ว่าเกษตรกรที่ผลิตมะม่วงตามวิธีทดสอบโดยปรับใช้เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มจากเดิมที่มีการใช้ปัจจัยเคมีอย่างเดียวร้อยละ 54 การผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่เกษตรกรจะทำการห่อผลทำให้รูปทรงมะม่วงสวยกว่าของวิธีเกษตรกรโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนพื้นที่จังหวัดอุดรธานีได้พัฒนาการห่อผลโดยมีการพ่นสารเคมีตามคำแนะนำขณะผลเล็กก่อนที่จะห่อผลทำให้ลดปัญหาการทำลายเพลี้ยแป้งในผลคิดเป็นร้อยละ 6 - 6.7 ส่วนพื้นที่จังหวัดชัยภูมิการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การห่อผล และการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทำให้วิธีทดสอบมีขนาดผลผลิตที่มีคุณภาพมากกว่าและจำนวนผลมากกว่าวิธีเกษตรกร ทั้งนี ส่วนใหญ่จะไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิตยกเว้นมี 1 - 2 ราย ที่ยังพบแต่ในปริมาณที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน


ไฟล์แนบ
.pdf   86_2558.pdf (ขนาด: 1.15 MB / ดาวน์โหลด: 2,716)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม