11-18-2016, 09:56 AM
พัฒนาพันธุ์ลำไย
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิรากานต์ ขยันการ, อรุณี ใจเถิง, นฤนาท ชัยรังษี, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี, พิจิตร ศรีปินตา และอนันต์ ปัญญาเพิ่ม
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิรากานต์ ขยันการ, อรุณี ใจเถิง, นฤนาท ชัยรังษี, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี, พิจิตร ศรีปินตา และอนันต์ ปัญญาเพิ่ม
การรวบรวม จำแนก ประเมินคุณค่า และพัฒนาพันธุ์ลำไยดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ. เชียงราย (ศวส.เชียงราย) และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ (ศวกล. เชียงใหม่) ระหว่างปี 2554 - 2558 ซึ่งที่ ศวส. เชียงรายมี 49 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 8 ไร่ และ ศวกล.เชียงใหม่มี 27 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 3 ไร่ พบว่าลำไยที่รวบรวมพันธุ์ไว้มีลักษณะใบ ดอก ผล เนื้อ และเมล็ดที่แตกต่างกัน ลักษณะสำคัญที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกพันธุ์ได้คือ รูปร่างใบ รูปร่างผล สีเนื้อ และช่วงการออกดอกติดผล ลำไยที่มีขนาดทรงพุ่มเล็กได้แก่ พันธุ์ฟิลิปปินส์ และลำไยเถา ลำไยที่มีพฤติกรรมออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปีหรือออกดอกนอกฤดู ได้แก่ พันธุ์เวียดนาม เพชรสาคร เพชรยะลา ฟิลิปปินส์ และลำไยเถา ลำไยที่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่พัฒนาได้แก่พันธุ์เมล็ดลีบและไร้เมล็ด สำหรับลำไยพันธุ์เวียดนามค่อนข้างอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของไรสี่ขา ได้ทำฐานข้อมูลพันธุกรรมลำไยจนครบทุกลักษณะ 34 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้เพิ่มเติมและพิมพ์เป็นเอกสารวิชาการพันธุ์ลำไยทุกปี
ปี 2554 - 2556 ได้คัดเลือกพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ออกดอกติดผลหรือเก็บเกี่ยวได้เร็วหรือนอกฤดูและคุณภาพดี ทำการผสมพันธุ์จำนวน 72 คู่ผสมแล้วปลูกต้นลูกผสมรวม 869 ต้นในแปลงคัดเลือกลูกผสม พร้อมทั้งได้นำยอดลูกผสมบางส่วนไปเสียบยอดบนต้นพันธุ์ดอ 10 ต้นที่ออกดอกติดผลแล้วที่ศวส. เชียงราย การศึกษาลักษณะลูกผสมจะดำเนินการต่อภายใต้โครงการพัฒนาพันธุ์ลำไยระยะที่ 2 (2559 - 2564)