10-13-2016, 10:44 AM
ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราหลังการเปิดกรีดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, มะนิต สารุณา, เกษตร แนบสนิท, ญาณิน สุปะมา, ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ และพรทิพย์ แพงจันทร์
ศวพ.ชัยภูมิ สวพ.3, ศวพ.นครพนม, ศวย.หนองคาย และสวพ.3
ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, มะนิต สารุณา, เกษตร แนบสนิท, ญาณิน สุปะมา, ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ และพรทิพย์ แพงจันทร์
ศวพ.ชัยภูมิ สวพ.3, ศวพ.นครพนม, ศวย.หนองคาย และสวพ.3
ปัญหาสำคัญของการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คือ ใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มตามศักยภาพ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จึงทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่ปลูกยางของเกษตรกรเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ สร้างแปลงตัวอย่างเพื่อเป็นแปลงเรียนรู้ของเกษตรกร ขยายผลไปยังแปลงเกษตรกรที่มีสภาพคล้ายคลึงกับแปลงทดสอบ ดำเนินการทดสอบ ปี 2554 - 2556 ในแปลงเกษตรกร 3 จังหวัด คือ หนองบัวลำภู นครพนม และหนองคาย โดยใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและลักษณะดินในการแบ่งพื้นที่ ทดสอบกับยางหลังการเปิดกรีดอายุ 8 - 13 ปี เกษตรกร 15 รายๆ ละ 5 ไร่ มี 2 กรรมวิธี 2 ซ้ำ คือ 1) กรรมวิธีทดสอบ ใสํปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน และ 2) กรรมวิธีเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยทั้งชนิดและอัตราไม่ถูกต้อง ผลการทดสอบการใช้ปุ๋ย ในยางหลังการเปิดกรีดพบว่า กรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรในทุกจังหวัด โดยพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูพบว่า กรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 10.2 ซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 335 และ 304 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 31,562 และ 28,663 บาทต่อไร่ ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดนครพนม ได้ผลผลิตสูงกว่าร้อยละ 4.6 โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 298 และ 285 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 27,412 และ 25,488 บาทต่อไร่ ตามลำดับ พื้นที่จังหวัดหนองคาย ได้ผลผลิตสูงกว่าร้อยละ 13.5 โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย 277 และ 244 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 23,758 และ 20,352 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลการดำเนินงานยังทำให้เกษตรกรทั้ง 15 ราย ใน 3 จังหวัด สามารถเป็นเกษตรต๎นแบบถ่ายทอดความรู้การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องสำหรับเกษตรกรที่สนใจในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถขยายผลและถ่ายทอดความรู้ไปสู่เกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด