10-12-2016, 04:19 PM
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Pantoea agglomerans ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อการส่งออก
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, ชลธิชา รักใคร่ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชากักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, ชลธิชา รักใคร่ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชากักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เชื้อแบคทีเรีย Pantoea agglomerans สาเหตุโรคใบไหม้และโรคเหี่ยวของข้าวโพด (leaf blight and vascular wilt disease of maize) เป็นเชื้อที่มีความสำคัญทางกักกันพืช จากการที่ประเทศไทยมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นส้นทาง (pathway) ของเชื้อนี้ที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ เนื่องจากเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางเมล็ดพันธุ์ (seed transmission) จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจ ติดตามและเฝ้าระวังโรคเหี่ยวของข้าวโพดเชื้อนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการจัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืช วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และการกำหนดพื้นที่ปลอดศัตรูพืช จากการสำรวจแหล่งปลูกข้าวโพด 12 แหล่งปลูก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2556 จำนวน 155 แปลง ได้แก่ เชียงราย จำนวน 15 แปลง เชียงใหม่ จำนวน 20 แปลง แม่ฮ่องสอน จำนวน 10 แปลง ตาก จำนวน 15 แปลง นครสวรรค์ จำนวน 15 แปลง ลำปาง จำนวน 5 แปลง แพร่ จำนวน 13 แปลง น่าน จำนวน 15 แปลง หนองคาย จำนวน 17 แปลง นครราชสีมา จำนวน 20 แปลง สระบุรี จำนวน 5 แปลง และลพบุรี จำนวน 5 แปลง ไม่พบอาการโรคเหี่ยวของข้าวโพด ได้ทำการเก็บตัวอย่างที่มีอาการใบไหม้ (leaf blight) ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับอาการใบไหม้ที่เกิดจาก จำนวน 235 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย P. agglomerans ห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจตัวอย่างทั้งหมดพบว่า แบคทีเรียที่แยกได้ไม่ใช้แบคทีเรีย P. agglomerans แสดงให้เห็นว่า จากการสำรวจแหล่งปลูกข้าวโพด 12 แหล่งปลูก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2556 จำนวน 155 แปลง ไม่พบโรคใบไหม้และโรคเหี่ยวของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P. agglomerans ในประเทศไทย