10-12-2016, 01:59 PM
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrissia virgata (Cockerell)
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrissia virgata (Cockerell) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในฝรั่ง ทำการทดลองที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมีนาคม 2554–สิงหาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร clothianidin 16%SG (Dantosu), imidacloprid 70%WG (Provado), white oil 67%EC (Vite oil), petroleum spray oil (SK Enspray 99), spiromesifen 24%SC (Oberon 240 SC), buprofezin 40%SC (Napam) อัตรา 20, 15, 150, 150, 10 และ 40 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสองแปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้งมากกว่า 2 ตัวต่อผล ตรวจนับเพลี้ยแป้งก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับเพลี้ยแป้งบนผลฝรั่ง จำนวน 10 ผล/ซ้ำ ทำการทดลองซ้ำเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้ง ได้ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างแมลงที่พบในแปลงฝรั่งของเกษตรกร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีมาจำแนกชนิด ได้แก่ แมลงหวี่ขาวใยเกลียว Aleurodicus dispersus (Russell), เพลี้ยแป้งลาย Ferrisia virgata (Cockerell) พบการระบาดของแมลงไม่สม่ำเสมอ จึงทำการรวบรวมเพลี้ยแป้งลายมาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณบนผลฟักทอง เพื่อทำการระบาดเทียม แต่ปริมาณของแมลงหลังจากปล่อยแล้ว การระบาดยังไม่สม่ำเสมอ และปริมาณแมลงไม่เพียงพอสำหรับทำการทดลอง จึงไม่สามารถดำเนินการทดลองได้