10-10-2016, 03:59 PM
ศึกษาการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์
วรัญญา มาลี, วลัยกร รัตนเดชากุล, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, คมศร แสงจินดา และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
วรัญญา มาลี, วลัยกร รัตนเดชากุล, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, คมศร แสงจินดา และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 - กันยายน 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการทางวิชาการด้านสุขอนามัยพืชในจัดการความเสี่ยงของศัตรูพืชที่มีโอกาสติดเข้ามาจากการนำเข้าผลพลับสดจากนิวซีแลนด์ ผลการศึกษาพบว่าศัตรูพลับที่มีโอกาสเข้ามา ตั้งรกราก และแพร่กระจายในประเทศไทย ตลอดจนอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจหากศัตรูพืชนั้นสามารถเข้ามาในประเทศไทยได้ และมีคุณสมบัติเป็นศัตรูพืชกักกันมีจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยหอย Aspidiotus nerii, Ceroplastes destructor, Parthenolecanium persicae, Pinnaspis strachani เพลี้ยแป้ง Pseudococcus calceolariae, Pseudococcus viburni หนอนผีเสื้อ Epiphyas postvittana และด้วงฟูลเลอร์โรส Pantomorus cervinus โดยมีความเสี่ยงในระดับปานกลาง สำหรับแนวทางการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้ากำหนดให้ต้องมีการบริหารจัดการศัตรูพืชที่ดีในสวน มีการจัดการที่ดีขณะเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว ต้องมีการจดทะเบียนสวนกับหน่วยงานองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติของนิวซีแลนด์ มีการตรวจศัตรูพืชเพื่อรับรองก่อนส่งออก และตรวจสอบศัตรูพืชที่จุดนำเข้า ณ ด่านตรวจพืช เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย