การทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนาในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
#1
การทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนาในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
สุรกิตติ  ศีรกุล, ชุมพล เชาวนะ, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, สมชาย ทองเนื้อห้า, วิรัตน์ ธรรมบำรุง และธีรชาต วิชิตชลชัย
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา

          ความพยายามที่จะนำพื้นที่เหมืองแร่ร้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชมาใช้ประโยชน์ในการปลูกปาล์มน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของกรมวิชาการเกษตร ในพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ศรีพิพัฒน์ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานมสาว หมู่ 5 ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จำนวนพื้นที่ 621 ไร่ โดยเริ่มดำเนินการ ในเดือนมีนาคม 2549 เป็นต้นมา โดยดำเนินการวางแผนการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในสภาพพื้นที่เหมืองร้าง ดินมีความสมบูรณ์ต่ำมาก และสภาพพื้นดินเป็นดินทรายบนหิน เริ่มปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1-6 ในเดือนเมษายน 2549 จำนวน 420 ต้น พร้อมกับการเพาะเลี้ยงต้นกล้าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ Compact Ghana จำนวน 9,000 ต้น จากนั้นได้ทยอยปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ Compact Ghana จำนวน 6,883 ต้น ในช่วงระหว่าง ปี 2549 ถึง 2553 ปัจจุบันมีจำนวนต้นปาล์มน้ำมัน 7,303 ต้น ชึ่งมีอายุต่างๆ กัน และดูแลรักษาตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ตลอดจนบันทึกข้อมูลสภาพดิน ภูมิอากาศ ผลผลิต และรายได้ จากการศึกษาพบว่า ปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตที่ดี และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่อายุ 3.0 ปีเป็นต้น และผลผลิตเฉลี่ยรายอายุ ดังนี้ 1,146 (3-4 ปี) และ 2,301 (4-5 ปี) กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ และมีรายได้เข้ามูลนิธิชัยพัฒนา รวม 1.326,000 บาท ซึ่งแปลงทดสอบการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สามารถใช้เป็นแปลงต้นแบบ และเป็นศูนย์เรียนรู้ในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยมีการนำผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรไปขยายผลสู่เกษตรกร โดยมีเกษตรกร และผู้สนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้ ประมาณ 1,000 ราย/ปี


ไฟล์แนบ
.pdf   1898_2554.pdf (ขนาด: 150.62 KB / ดาวน์โหลด: 533)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม