การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
#1
การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ไตรเดช ข่ายทอง, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ปลูกมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์บริการวิชาการฯ ตาก (ดอยมูเซอ) ตรวจพบปริมาณตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita จำนวน 200 ตัว/ดิน 500 กรัม นำเชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้น PDA มีทั้งเส้นใยและสปอร์จำนวน 1 กรัม 10 กรัม และ 20 กรัมรองใต้หัวปลูก และใช้สารแขวนลอยสปอร์ (spore suspensions) เทลงบนหัวพันธุ์จำนวน 1 ล้าน 2 ล้าน และ 3 ล้านสปอร์เปรียบเทียบกับการไม่ใส่เชื้อรารวมเป็น 8 กรรมวิธี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ เก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันฝรั่งอายุ 3 เดือน พบว่า ผลผลิตหัวมันฝรั่งต่อต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ ประมาณเฉลี่ย 305 กรัม วิเคราะห์จากแปลงที่ไม่ใส่เชื้อรามีดัชนีโรคหัวหูด 2.8 ซึ่งเป็นระดับสูง โรงงานไม่รับซื้อ การใช้กรรมวิธีใช้ PDA 30 กรัม ทำให้เกิดดัชนีโรคหัวหูดระดับ 1.2 ต่างกันเล็กน้อยจากการใช้เชื้อราบน PDA ขนาด 1 กรัม 10 กรัม และ 20 กรัม ซึ่งเกิดโรคหูดดัชนีเท่ากันทั้ง 3 กรรมวิธี คือ ระดับ 1.5 การใช้สารแขวนลอยของสปอร์ทุกกรรมวิธีเกิดโรคหูดระดับ 1.7 เท่าๆกัน เท่ากับค่าเฉลี่ยทั้งการทดลองจากการทดลองครั้งนี้ทำให้ทราบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ P. lilacinus มีคุณสมบัติลดอาการโรครากปมได้แต่แสดงให้เห็นว่า การใช้เชื้อราที่ต้องเลี้ยงในอาหาร PDA ปริมาณมาก มีค่าใช้จ่ายสูง วิธีการยุ่งยาก ก็ยังลดการระบาดของไส้เดือนฝอยดังกล่าวไม่หมด และยังมีรอยแตก คุณภาพของหัวไม่สวย อาจถูกกดราคาลงอีกปี 2553 ได้ปรับการใช้เชื้อราดังกล่าวให้เป็นสูตรผง วิธีการที่ใช้ไม่ยุ่งยากต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1310_2552.pdf (ขนาด: 521.72 KB / ดาวน์โหลด: 764)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม