การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์
#1
การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, สมเพชร เจริญสุข และกิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์

          การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์สำหรับลำไยสดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ดำเนินการระหว่างปี 2549 - 2551 เพื่อศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ดำเนินการโดยสุ่มสำรวจโรงรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดลำพูน จำนวน 33 โรงรม ผลการดำเนินงาน พบว่าโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน ร้อยละ 57 มีจำนวนห้องรม 2 - 4 ห้อง ร้อยละ 45 ประกอบการรมมาแล้วเป็นเวลา 6 - 10 ปี โรงรม SO2 ร้อยละ 78 ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรสำหรับเจ้าหน้าที่รม โรงรมรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ร้อยละ 59 มีผู้ทำหน้าที่รม 2 คน มีประสบการณ์การรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 1 - 5 ปี ความรู้เรื่องการรมได้มาจากการอบรม การตรวจรับรองโรงรม ของ สวพ.1 และได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้มีประสบการณ์ของโรงรม การรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ร้อยละ 59 ปฏิบัติตามคำแนะนำ สำหรับการปรับใช้คำแนะนำนั้นร้อยละ 56 มีการปรับเพิ่มปริมาณกำมะถันที่ใช้รม ปัจจัยที่มีบทบาทต่อการรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ สภาพของผลลำไย คือ ผลลำไยที่เปียกและอายุเก็บเกี่ยวแก่จะรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่ได้เลย ซึ่งมีระดับความสำคัญ 2.84 (SD = 0.51) และ 2.66 (SD = 0.65) ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการจะไม่รับซื้อลำไยที่มีสภาพดังกล่าว การประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนมีประเด็นที่เป็นโอกาส คือ ดำเนินการมาเป็นเวลานาน มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การประกอบการมีคุณภาพ มีผู้มีประสบการณ์ที่สามารถให้คำแนะนำและถ่ายทอดได้ จำนวนโรงรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเพียงพอต่อปริมาณลำไย สำหรับข้อจำกัดนั้นเรื่องสำคัญคือ ทัศนคติของผู้ประกอบการที่ยังไม่ให้ความสำคัญต่อมาตรการต่างๆ ของทางราชการ โดยเฉพาะการส่งออกลำไยสดไปประเทศจีน และความไม่พร้อมของผู้ประกอบการที่เข้าสู่ระบบซึ่งต้องมีการลงทุนสูงในขณะที่สถานการณ์การค้าลำไยสดในแต่ละปีมีความผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดเล็ก


ไฟล์แนบ
.pdf   1089_2551.pdf (ขนาด: 1.77 MB / ดาวน์โหลด: 648)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม