เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์
#1
เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์
จิรภา พุทธิวงศ์, สมพงษ์ สุขเขตต์, เอนก บางข่า และโกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, กองแผนงานและวิชาการ

          กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนามะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ โดยวิธี pure line selection จนได้พันธุ์มะละกอที่มีลักษณะดีเด่น คือ ลำต้นเตี้ย ให้ผลดก  ติดผลเร็ว ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัม/ต้น/ปี นอกจากนี้ยังมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่าพันธุ์แขกดำพื้นเมืองทั่วไป กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2537 และให้การรับรองโดยกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 22/2540 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำผลงานวิจัยด้านพันธุ์ที่ได้นี้ มาดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์หลักมะละกอแขกดำศรีสะเกษ และได้กระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆและการจำหน่าย จ่าย แจก ให้กับเกษตรกร เอกชน หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ มีผลการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์งานผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษ ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2550 มีแผนการผลิตรวมทั้งหมด 170 กิโลกรัม  จำหน่ายเป็นจำนวน 144 กิโลกรัม จ่ายแจกเป็นจำนวน 5 กิโลกรัม โดยมีเกษตรกรและหน่วยงานอื่นๆรับบริการจำนวน 262 คน ได้มีการเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษ หลายรูปแบบ เช่น การเสนอผลงานวิจัย การออกข่าวเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดแสดงนิทรรศการ การเผยแพร่ทางวิทยุ  การเผยแพร่ทางสื่ออิเลกทรอนิก การแจกเอกสารแผ่นพับและอื่นๆ โดยนักวิชาการเกษตรที่อยู่ในสังกัดศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ หรือหน่วยงานอื่นในกรมวิชาการเกษตร และผู้สื่อข่าวด้านการเกษตรของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้ปฏิบัติงานร่วมกับประชาชน ในโครงการนำร่องมะละกอแขกดำศรีสะเกษแบบมีส่วนร่วมกับประชาชน ในปี พ.ศ.2550 มีเกษตรกรใกล้เคียงพื้นที่ดำเนินการ ให้ความสนใจในการดำเนินงานโครงการฯ จึงได้มีการขยายผล ในปี พ.ศ.2551 โดยมีเป้าหมายที่จะตรวจวิเคราะห์มะละกอในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้มีการขยายผลโครงการไปยัง จังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำ นักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดชัยภูมิ


ไฟล์แนบ
.pdf   549_2551.pdf (ขนาด: 764.21 KB / ดาวน์โหลด: 2,503)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม