วิจัยโครงสร้างการผลิตการตลาดลำไย
#1
วิจัยโครงสร้างการผลิตการตลาดลำไย
สุภาภรณ์ สาชาติ, เกษมศักดิ์ ผลากร, จารุพรรณ มนัสสากร และวิทย์ นามเรืองศรี

          การวิจัยโครงสร้างการผลิตการตลาดลำไย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดลำไยของประเทศไทยในช่วงปี 2547-2550 และลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดทางภาคเหนือ คือเชียงใหม่และลำพูน และในจังหวัดจันทบุรี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลาตงั้ แต่ปี 2547-2550 ไดจ้ ากการรวบรวมเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เนต เวปไซต์ตลอดจนข้อมูลทางด้านสถิติที่หน่วยงานในประเทศไทยได้รวบรวมไว้ เช่น กรมศุลกากร กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปวิเคราะห์เชิงพรรณนา และข้อมูลปฐมภูมิ ที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และจันทบุรี จำนวน 64 ราย โดยทำการศึกษา พบว่าพื้นที่ปลูกลำไยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี2551 มีพื้นที่ปลูก 1,009,830 ไร่ ปลูกมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย และจันทบุรี โดยในปี 2550 มีพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 38% ในขณะทีผลผลิตและผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มลดลง 17% และ 40% ตามลำดับ การส่งออกลำไยของไทย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปลำไยสด (มูลค่า 2,269 ล้านบาท) และลำไยแห้ง (มูลค่า 2,018 ล้านบาท) ประเทศที่นำเข้าลำไยของไทยที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซียและฮ่องกง

          การใช้ในประเทศอยู่ในรูปลำไยสด ในปี 2550 ไทยบริโภคลำไย 52,570 ตัน ราคาและผลตอบแทน ราคาลำไยมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2550 เกรด A ราคา 16,062 บาท/ตัน เกรด AA ราคา 20,182 บาท/ตัน แต่ผลตอบแทนของเกษตรกรยังขาดทุน

          จากแบบสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 64 ราย ทำให้ทราบว่าเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและจันทบุรี เป็นเพศชายและหญิงในสัดส่วนเท่ากัน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 46 - 60 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6

          พันธุ์ลำไยที่ปลูกเป็นการค้า คือ พันธุ์ดอ ส่วนใหญ่มีอายุต้นไม่เกิน 10 ปี โดยจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเกษตรกรมีพื้นที่ปลูก น้อยกว่า 5 ไร่ (ร้อยละ 45) ส่วนจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูก 5 - 10 ไร่ (ร้อยละ 41.67)

          ต้นพันธุ์ได้จากการขยายพันธุ์แบบตอนกิ่ง ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตเมื่อปลูกไปแล้ว 3 ปี เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนใช้ระยะปลูก 5 x 5 ตารางเมตร (ร้อยละ 25) ให้ลำไยออกดอกติดผลตามธรรมชาติ (ร้อยละ 90) ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม (ร้อยละ 45 และ 40 ตามลำดับ) ให้น้ำโดยใช้ลากสาย มีการให้ปุ๋ยเคมีปีละ 2 ครั้ง (ร้อยละ 37.50) ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพ (ร้อยละ 67.50) อัตรา น้อยกว่า 50 กิโลกรัมต่อไร่ (ร้อยละ 40)

          เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีใช้ระยะปลูก 6 x 8 และ 8 x 8 ตารางเมตร (ร้อยละ 29.17 และ 29.17 ตามลำดับ) บังคับลำไยให้ออกดอกติดผลนอกฤดู (ร้อยละ 58.33) ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม (ร้อยละ 20.83 และ 25 ตามลำดับ) ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จำนวน 1 ครั้ง/วัน ให้ปุ๋ยเคมีปีละ 3 ครั้ง (ร้อยละ 45.83) ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก (ร้อยละ 66.67) อัตรา น้อยกว่า 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ (ร้อยละ 75)


ไฟล์แนบ
.pdf   1087_2551.pdf (ขนาด: 1.69 MB / ดาวน์โหลด: 1,455)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม