การพัฒนาวิธีการสกัดและทดสอบประสิทธิภาพสารซาโปนินจากเปลือกเงาะ
#1
การพัฒนาวิธีการสกัดและทดสอบประสิทธิภาพสารซาโปนินจากเปลือกเงาะง
อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, อรวินทินี ชูศรี และศิริพร เต็งรัง
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร

          การพัฒนาวิธีการสกัดและทดสอบประสิทธิภาพสารซาโปนินจากเปลือกเงาะ มีวัตถุระสงค์เพื่อหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสกัดซาโปนินที่มีอยู่ในเปลือกเงาะ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตร และทดสอบประสิทธิภาพของสารที่สกัดได้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ การวิจัยประกอบด้วย การศึกษาวิธีการสกัดสารซาโปนิน วิเคราะห์ชนิดและปริมาณของซาโปนินที่สกัดได้ และการทดสอบประสิทธิภาพของสารซาโปนินต่อการควบคุมศัตรูพืช ดำเนินการที่ศูนยวิจัยพืชสวนจันทบุรีระหว่างเดือนกันยายน 2554 – ตุลาคม 2557 โดยทดลองวิธีการสกัดแบบแช่และแบบกลั่น reflux ใชตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เอธานอล 70% เมทานอล 70% และน้ำกลั่นพบว่า การสกัดแบบกลั่น reflux โดยใช้เอธานอล 70% และเมทานอล 70% เปรียบเทียบกับการสกัดแบบแช่ด้วยน้ำกลั่นที่ใช้เวลา 9 วัน พบว่ามีน้ำหนักแห้งของสารสกัดหยาบสูงกว่า 44 % และ 33 % โดยใช้ระยะเวลาเพียง 9 ชั่วโมง การวิเคราะห์สารสกัดด้วย FTIR พบว่า สารที่ได้มีสมบัติเป็นไตรเทอร์พีนและสเตียรอยด์ซาโปนิน และเมื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณซาโปนินโดยใช้เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์พบว่า สารซาโปนินที่ไดจากการสกัดแบบกลั่น reflux ด้วยเมทานอล 70% มีปริมาณสูงที่สุด (422.05 มิลลิกรัม/กรัม) สูงกว่าวิธีการสกัดแบบกลั่น reflux ด้วยน้ำกลั่น และเอธานอล 70% ถึง 23 % และ 14% ตามลำดับ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพต่อการควบคุมศัตรูพืชพบว่า การใชสารสกัดหยาบซาโปนินที่ระเหยตัวทำละลายออกหมดแล้ว ผสมกับน้ำกลั่น ที่ความเข้มข้น 2,000 และ 4,000 มิลลิกรัม/ลิตร ทำให้หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ตายภายใน 12 ชั่วโมง และที่ระดับความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถยับย้ังการเจริญของโคโลนีของเชื้อรา Phytophthora palmivora Colletotrichum spp. และ Marasmius palmivorus Sharples บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ที่ผสมสารสกัดหยาบซาโปนินได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม


ไฟล์แนบ
.pdf   3_2558.pdf (ขนาด: 657.13 KB / ดาวน์โหลด: 13,329)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม