การจำแนกสายพันธุ์มันสำปะหลังที่รวบรวมไว้โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
#1
การจำแนกสายพันธุ์มันสำปะหลังที่รวบรวมไว้โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ประพิศ วองเทียม, ศุภชัย สารกาญจน์ และเพียงเพ็ญ ศรวัต

          การจำแนกพันธุ์มันสำปะหลังโดยใช้เทคนิค ISSR-Touchdown PCR พบว่าเป็นวิธีการที่ได้แถบดีเอ็นเอชัดเจน สามารถคัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมายที่แสดงความแตกต่างระหว่างพันธุ์ได้ 25 ไพรเมอร์ จากการคัดเลือกทั้งสิ้น 100 ไพร์เมอร์ แต่ละไพรเมอร์สามารถตรวจพบแถบดีเอ็นเอได้ประมาณ 21 ตำแหน่ง ผลจากการทำการตรวจสอบพันธุ์มันสำปะหลังทั้งสิ้น 532 หมายเลขด้วยวิธีการนี้ สามารถพบแถบดีเอ็นเอทั้งสิ้น 425 ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งที่แสดงความแปรปรวน 418 ตำแหน่ง คิดเป็น 98.4% ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางพันธุกรรม โดยใช้โปรแกรมสถิติ NTSYSpc และสร้าง Dendrogram พบว่าตัวอย่างทั้งหมดมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในระดับ 70 – 100% สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ที่ระดับความใกล้ชิด 70% ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ดั้งเดิม พื้นเมืองของไทย และกลุ่ม Core Collection ของ CIAT ภายในกลุ่มของไทยพบว่าสามารถแบ่งได้เป็นอีก 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มพันธุ์พื้นเมือง กลุ่มพันธุ์ป่า และกลุ่มพันธุ์นำเข้าและลูกผสม มีความสัมพันธ์กันในระดับ 77% ส่วนกลุ่ม Core Collection สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ที่มาจากประเทศ โคลัมเบีย บราซิล อาเจนติน่า เม็กซิโก และคิวบา และกลุ่มที่มาจากประเทศเวเนซูเอล่า ปารากวัย เปรู และอื่นๆ โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันในระดับ 72% พันธุ์ต่างๆ ในทั้ง 2 กลุ่ม มีการจัดกลุ่มกันตามแหล่งกำเนิดของพันธุ์ จากการทดลองนี้ แสดงให้เห็นว่าวิธี ISSR-Touchdown PCR สามารถใช้แสดงความแตกต่างของมันสำปะหลังได้ และการจัดกลุ่มพันธุ์มันสำปะหลังด้วยวิธีการนี้ ให้ผลสอดคล้องกับแหล่งกระจายพันธุ์ของมันสำปะหลัง


ไฟล์แนบ
.pdf   986_2551.pdf (ขนาด: 1.92 MB / ดาวน์โหลด: 1,124)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม