การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Benzimidazole ในมะม่วง
#1
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Benzimidazole ในมะม่วงด้วยวิธี HPLC
ศิริพันธ์ สุขมาก และประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ

          การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบสารพิษตกค้างกลุ่ม benzimidazole ในมะม่วง จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ carbendazim, thiabendazole, thiophanate methyl และ benomyl ณ ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยใช้วิธีที่พัฒนามาจากวิธีของ QuCHERs ในการสกัดตัวอย่างด้วย acetonitrile และกำจัดสิ่งปนเปื้อนโดยใช้ PSA (primary secondary amine) หลังจากนั้นจึงนำมาตรวจหาชนิดและปริมาณโดยใช้ HPLC มี Diode Array Detector เป็นตัวตรวจวัด ใช้ส่วนผสมของ 5 % acetic acid ในน้ำและ 5% acetic acid acetonitrile เป็น mobile phase สำหรับ carbendazim thiabendazole, thiophanate methyl และ benomyl ได้ทดสอบในความเข้มข้นในช่วง 0.40 - 5.0 mg/kg รายการที่ทำการตรวจสอบ ได้แก่ range, linearity, accuracy, precision, Limit of quantitation (LOQ), Limit of determination (LOD) ผลการตรวจ สอบ range และ linearity ของวิธีการนี้พบว่าทุกสาร มีค่า Correlation coefficient (R2) > 0.995 แสดงว่า carbendazim, thiabendazole, และ thiophanate-methyl สามารถตรวจสอบสารพิษตกค้างได้ในช่วง 0.50 – 5.0 mg/kg ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่า accuracy ประเมินได้จาก % recovery พบว่า % recovery ของสาร carbendazim, thiabendazole และ thiophanate methyl อยู่ในเกณฑ์ 80 – 110 ซึ่ง AOAC กำหนดให้มีค่า 80 – 110 ที่ความเข้มข้น 0.5 - 5 mg/kg ค่า precision ประเมินได้จากค่า Horwitz ratio (HORRAT) และค่า % RSD พบว่า ทุกสารมีค่า HORRAT < 2 และมีค่า % RSD อยู่ในช่วง 8 - 14 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานของ AOAC ค่า LOD ของสาร carbendazim, thiabendazole และ thiophanate methyl อยู่ในช่วง 0.4 mg/kg และค่า LOQ อยู่ในช่วง 0.5 mg/kg ผลจากรายการตรวจสอบวิธีการนี้ แสดงให้เห็นว่าวิธีการนี้สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการทดสอบสารพิษตกค้างกลุ่ม benzimidazole ได้ในการทำงานแบบ routine เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถนำไปขอรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบสารพิษตกค้างได้ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 ซึ่งเป็นการขยายขอบข่ายการตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างพืชส่งออกที่มีการใช้สารกลุ่มนี้ ทำให้สินค้าพืชผักผลไม้ส่งออกของไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของประเทศผู้ซื้อยิ่งขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   901_2551.pdf (ขนาด: 952.29 KB / ดาวน์โหลด: 954)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม