06-29-2016, 10:41 AM
ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตพริกอินทรีย์
พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, นาตยา จันทร์ส่อง และสิรี สุวรรณเขตนิคม
พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, วิมลรัตน์ ดำขำ, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, นาตยา จันทร์ส่อง และสิรี สุวรรณเขตนิคม
เพื่อศึกษาความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตพริกอินทรีย์ จึงทำการทดลองขึ้นโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ในระบบอินทรีย์ คือ 1) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 3 วัน 2) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน 3) พ่นน้ำหมักปลาทุก 3 วัน 4) พ่นน้ำหมักปลาทุก 7 วัน 5) ไม่ใช้น้ำหมักฯ ใดๆ โดยก่อนปลูกปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ ไถกลบก่อนปลูก 15 วัน กรรมวิธีที่พ่นน้ำหมักจะพ่นน้ำหมักสมุนไพรควบคู่ไปด้วย บันทึกข้อมูล ผลผลิตและคุณภาพ และต้นทุนที่ต่างกัน ทำการทดลองที่ ศวร.เชียงใหม่ และศวร.อุบลราชธานี ในฤดูแล้งปี 2549 - 2551 ผลการทดลองพบว่าทั้งที่ ศวร.ชม. (ปี 2549 - 51) และศวร.อบ. (ปี 2550 - 51) ให้ผลผลิตพริกสดและพริกแห้งไม่แตกต่างกันทางสถิติทุกกรรมวิธี โดยเฉลี่ย 253.9 กก./ไร่ (ศวร.ชม.) และ 213.9 กก./ไร่(ศวร.อบ.) แต่ผลกำไรสุทธิ (รายได้-ต้นทุนที่ต่างกัน) ของการใช้น้ำหมักปลาและผลไม้ทุก 7 วัน สูงกว่ากรรมวิธีอื่น