ทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพพื้นที่ดอน จ.ลำพูน
#1
ทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพพื้นที่ดอน จังหวัดลำพูน
พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ศิริพร หัสสรังสี, อนรรค อุปมาลี, สิรี สุวรรณเขตนิคม, พิจิตร ศรีปินตา และมนตรี ทศานนท์

          การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตลำไยนอกฤดู ในสภาพพื้นที่ดอน โดยนำเทคโนโลยีการใช้สาร KClO3 ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่เปรียบเทียบกับวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติ พบว่าแปลงทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,360 กก./ไร่ มีรายได้สุทธิ 22,644 บาท/ไร่ และแปลงเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,140 กก./ไร่ มีรายได้สุทธิ 15,263.50 บาท/ไร่ ตามลำดับ ส่วนการระบาดของศัตรูในแปลงทดสอบและแปลงเกษตรกรมีความคล้ายคลึงกัน คือ พบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้สูงสุด แปลงทดสอบ 85% และ 80% ในแปลงเกษตรกร ในระยะใบอ่อนที่อากาศแห้งแล้ง ซึ่งเป็นระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงแนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ส่วนศัตรูพืชชนิดอื่นๆ เช่น เพลี้ยหอย, เพลี้ยแป้ง, หนอนม้วนใบ และหนอนเจาะผล พบในปริมาณน้อย เนื่องจากมีศัตรูธรรมชาติพวกตัวห้ำ, ตัวเบียน ช่วยควบคุมปริมาณไม่ให้เกิดความเสียหาย พบว่าการจัดการเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูโดยการปรับปรุงดินตามค่าวิเคราะห์ การตัดแต่งกิ่ง การดูแลจัดการตามวิธีการ GAP ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีเกรดใหญ่มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร กรรมวิธีทดสอบยังมีต้นทุนการผลิต/กิโลกรัมที่ต่ำกว่าแปลงเกษตรกร และการผลิตลำไยนอกฤดูในจังหวัดลำพูน พบปัญหาในเรื่องสภาพอากาศที่ตรงกับช่วงฤดูฝน มีฝนมากในช่วงราดสารโพแทสเซียมคลอเรตจะทำให้สารถูกชะล้างไปกับน้ำฝน ประสิทธิภาพของสารลดลง และมีฝนชุกและต่อเนื่องในช่วงที่ต้นลำไยจะออกดอก ทำให้ต้นลำไยแตกใบอ่อน ไม่ออกดอก ผลผลิตต่อต้นต่ำ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมต้นให้สมบูรณ์และติดตามการพยากรณ์อากาศนับเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตลำไยนอกฤดู


ไฟล์แนบ
.pdf   988_2551.pdf (ขนาด: 944.17 KB / ดาวน์โหลด: 631)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม