ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง
#1
ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, 
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การเก็บรักษาไส้เดือนฝอย Steinernema sp. KPs No.2 และ Heterorhabditis sp. PRh isolate ให้คงความมีชีวิตและคงศักยภาพในการกำจัดแมลง ในสารอุ้มความชื้นชนิดต่างๆ โดย Steinernema sp. KPs No.2 เก็บรักษาในขี้เลื่อย ขี้เลื่อยปนดินทราย ขี้เลื่อยปนโพลิเมอร์ ดินพีทก้อนฟองน้ำตัด โพลิเมอร์ และน้ำกลั่น จำนวน 5 ล้านตัวต่อถุง นำมาตรวจนับเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (27+2 ซ) ทุกๆ 1 เดือน พบว่า การเก็บรักษาในสารโพลิเมอร์ สามารถรักษาสภาพของไส้เดือนฝอยได้นานกว่าสารอุ้มความชื้นชนิดอื่นๆ โดยมีระยะการเก็บนาน 3 เดือน พบเปอร์เซ็นต์การตายเพียง 11% รองลงมาคือ ขี้เลื่อยปนโพลิเมอร์พบการตาย 15% ที่ระยะเวลา 3 เดือน แต่การเก็บรักษาไส้เดือนฝอยในก้อนฟองน้ำพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 1 2 และ 3 หรือเท่ากับ 18 46 และ 74 % ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบศักยภาพของไส้เดือนฝอย Steinernema sp. KPs No.2 ที่เก็บรักษาในสาารโพลิเมอร์เป็นระยะเวลา 3 4 และ 5 เดือน ในกาารกำจัดแมลงทดสอบ (หนอนกินไขผึ้ง) พบว่า มีศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบตายเท่ากับ 95 80 และ 60 % ตามลำดับ สำหรับการเก็บรักษาไส้เดือนฝอย Heterorhabditis sp. PRh ในวัสดุเก็บรักษา 5 ชนิด คือ โพลิเมอร์ ขี้เลื่อย ก้อนฟองน้ำ ดินทราย และน้ำกลั่น จำนวน 1 ล้านตัวต่อภาชนะๆ ละ 10 ซ้ำ และตรวจนับเปอร์เซ็นต์การตายทุก 1 เดือน พบว่าเดือนที่ 1 มีเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยเท่ากับ 14 22 46 48 และ 16 เปอร์เซ็นต์ เดือนที่ 2 เท่ากับ 17 25 50 56 และ 21 เปอร์เซ็นต์ และเดือนที่ 3 เท่ากับ 34 48 62 84 และ 57 เปอร์เซ็นต์ ของการเก็บรักษาในโพลิเมอร์ ขี้เลื่อย ก้อนฟองน้ำ กินทราย และน้ำกลั่น ตามลำดับ เมื่อนำไส้เดือนฝอยที่เก็บรักษาในวัสดุเก็บรักษาชนิดต่างๆ เป็นเวลา 2 เดือน มาทดสอบศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบ (Galleria mellonella) พบว่า ไส้เดือนฝอยมีศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบตายเท่ากับ 90 75 40 5 และ 65 % ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1707_2553.pdf (ขนาด: 64.46 KB / ดาวน์โหลด: 951)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม