01-04-2016, 04:16 PM
พัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรอยด์กับส่วนขยายพันธุ์ของส้ม
ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์, กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช และปรียพรรณ พงศาพิชณ์
กลุ่มไวรัสวิทยา และกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์, กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช และปรียพรรณ พงศาพิชณ์
กลุ่มไวรัสวิทยา และกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ไวรอยด์ที่เข้าทำลายพืชกลุ่มส้มที่มีรายงานมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น Citrus exocortis viroid (CEVd) Citrus bent leaf viroid (CBLVd) Citrus viroid II (CVd-II) Citrus viroid-I-LSS (CVd-I-LSS) Citrus viroid III (CVd-III) Citrus viroid OS (CVd-OS) Japanease citrus viroid (JCVd) Citrus bark cracking viroid (CBCVd) และ Hop stunt viroid (HSVd) ซึ่งไวรอยด์หลายชนิดถูกประกาศให้เป็นศัตรูพืชกักกัน (Quarantine pest) ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญํติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ต้องมีการตรวจวินิจฉัยส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำเข้า แต่เนื่องจากไวรอยด์เป็นเชื้อสาเหตุดรคพืชที่มีขนาดเล็กที่สุดประกอบด้วยอาร์เอนเอสายเดี่ยวที่เป็นวงปิด และไม่มีโปรตีนหุ้มเหมือนไวรัส ซึ่งไม่สามารถด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยาได้ การนำใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา เช่น RT-PCR (Reverse Transcription-Polymerase Chain Reaction) เข้าช่วยในการตรวจจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดและทำความเสียหายของโรค