การทดสอบระบบการผลิตพืชผักให้ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการส่งออก
#1
การทดสอบระบบการผลิตพืชผักให้ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการส่งออก
อรัญญา ภู่วิไล, บุษรา จันทร์แก้วมณี, อุมาพร สีวิลัย, จันทนา ใจจิตร, จิราภา เมืองคล้าย, มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, ว“ฤษณี  ขาวเขียว และชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท และสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

          กรมวิชาการเกษตรกำหนดจำนวนเชื้อ Escherichia coli ในพืชผักสดส่งออกไม่เกิน 100 cfu/g และต้องไม่พบเชื้อ salmonella ดังนั้นจึงได้ทดสอบการผลิตพืชผักให้ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิด มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยในระดับเกษตรกรและดรงคัดบรรจุ ดำเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2551 ที่โรงคัดบรรจุพืชผักส่งออก และแปลงเกษตรกรเครือข่ายของโรงคัดบรรจุ โดยดำเนินการคัดเลือกโรงคัดบรรจุที่มีปัญหาเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว และเกษตรกรเครือข่าย วิเคราะห์ความเสี่ยง ทดสอบการผลิต ณ จุดที่มีความเสี่ยงการผลิตในระดับเกษตรกร และทดสอบวิธีการล้างทำความสะอาดในระดับโรงคัดบรรจุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการผลิตที่มีความเสี่ยงโดยพบเชื้อเกินค่าที่กำหนด ได้แก่ น้ำจากคลองชลประทานที่มีคอกสัตว์ตั้งอยู่ และปุ๋ยคอก วิธีการผลิตผักที่ปลอดภัยในระดับเกษตรกร คือ การใช้ปุ๋ยคอกที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์ และการล้างผลผลิตจำนวน 5 กิโลกรัม ในน้ำ 20 ลิตร ก่อนส่งโรงคัดบรรจุ ส่วนการผลิตของโรงคัดบรรจุพบว่า การตัดแต่งก่อนล้างทำความสะอาดช่วยลดจำนวนเชื้อลงได้บางส่วน และผลการทดสอบวิธีการล้างพบว่า การล้างโหระพา กะเพราจากแปลง GAP ซึ่งมีจำนวนเชื้อในวัตถุดิบน้อยกว่าแปลง NON-GAP ด้วยน้ำผสมคลอรีน 100 ppm ที่เติมโอโซนนาน 15 นาที ก่อนการล้างได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายและผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาไว้ 12 ชั่วโมง ที่พบเชื้อทั้ง 2 ชนิดต่ำกว่าค่าที่กำหนด แต่การใช้โอโซนควรทำในระบบปิด


ไฟล์แนบ
.pdf   1823_2553.pdf (ขนาด: 108.26 KB / ดาวน์โหลด: 426)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม