โครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของยางพาราปี 2550 โดยการสำรวจข้อมูลระยะไกลและเทคโนโลย
#1
โครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของยางพาราปี 2550 โดยการสำรวจข้อมูลระยะไกลและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุทัศน์ สุรวาณิช
กลุ่มวิชาการ  สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

          เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนเชิงนโยบายทั้งในด้านการผลิต การพัฒนาระบบตลาดและอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันตลอดจนสามารถสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราของประเทศไทยได้อย่างครบวงจรและเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสำรวจพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทยโดยที่ผ่านมามีหลาย ๆ หน่วยงานระดับกรม/สำนักงาน ในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการสำรวจพื้นที่ปลูกพืชรวมทั้งยางอยู่เป็นประจำด้วยวิธีการสำรวจหรือแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน จึงทำให้ข้อมูลไม่ตรงกัน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจัดทำโครงการสำรวจนี้ขึ้น โดยรวมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ร่วมกันสำรวจและบูรณาการข้อมูลให้ตรงกันเป็นตัวเลขเดียว โดยอาศัยข้อมูลดาวเทียม SPOT 5 ปี 2551 ควบคู่กับการสำรวจภาคสนามด้วย GPS แต่เนื่องจากในพื้นที่ปลูกใหม่ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางนั้น การจำแนกเนื้อที่ปลูกยางอ่อนจากข้อมูลดาวเทียมที่ส่วนใหญ่ปลูกปะปนอยู่กับพืชไร่ หรือนาดอน หรือทุ่งหญ้า ทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น ในการสำรวจพื้นที่ปลูกยางใหม่ดังกล่าวจะจัดทำแผนที่เฉพาะที่สามารถสำรวจปรากฏชัดเจนในภาพถ่ายดาวเทียมเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่ ยางอ่อน (อายุ 4–6 ปี) ยางก่อนกรีด (อายุ>6 ปี) ส่วนยางอายุต่ำกว่า 4 ปี ที่ไม่สามารถแยกแยะจากพืชไร่ในภูมิภาคได้ จะไม่จำแนกแต่จะใช้ข้อมูลรายงานที่ สนง.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้บูรณาการร่วมกันแล้ว ในระดับอำเภอและจังหวัดนำมาเสริมให้ครบถ้วน ผลการสำรวจสามารถสรุปพื้นที่ปัจจุบันอย่างเป็นทางการ จากข้อมูล SPOT 5 ปี 2551 ประเทศไทยมีเนื้อที่ยืนต้นยางพารารวมทั้งสิ้น 16,889,686 ไร่ กระจัดกระจายอยู่ใน 64 จังหวัด แบ่งเป็นภาคเหนือ 600,578 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,845,542 ไร่ ภาคตะวันออก 1,800,656 ไร่ ภาคกลาง 303,252 ไร่ และภาคใต้ 11,339,665 ไร่


ไฟล์แนบ
.pdf   1509_2552.pdf (ขนาด: 1.77 MB / ดาวน์โหลด: 1,456)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม