สถานการณ์การแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง C. hispidus Green และ P. lichi Cox ในลำไย
#1
สถานการณ์การแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus lichi Cox ในลำไย
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, พวงผกา อ่างมณี, ชลิดา อุณหวุฒิ, ชมัยพร บัวมาศ, วนาพร วงษ์นิคง, สัญญาณี ศรีคชา และเกรียงไกร จำเริญมา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง, Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus lichi Cox ในลำไย ดำเนินการสำรวจในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และจันทบุรี ในระยะที่ผลลำไยมีอายุประมาณ 5 เดือน ถึงระยะเก็บเกี่ยวในปี 2551 - 2553 ในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ในอำเภอพร้าว (3) จอมทอง (6) ดอยเต่า (2) ฮอด (2) สารภี (3) หางดง (2) สันป่าตอง (3) แม่วาง (2) และดอยหล่อ (2) จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง (3) ป่าซาง (5) เมืองลำพูน (3) ลี้ (4) และเวียงหนองล่อง (3) จังหวัดลำพูน และอำเภอพาน (8) จังหวัดเชียงรายรวม 51 แปลง และในปี 2553 แหล่งปลูกจันทบุรีในอำเภอสอยดาว (18) และโป่งน้ำร้อน (32) รวม 50 แปลง พบเพลี้ยแป้งที่ลงทำลายผลลำไย 8 ชนิด คือ Pseudococccus sp. Ferrisia vergata (Cockerell), Planococcus lilacinus (Cockerell), Planococcus mine (Maskell), Planococcus sp., Dysmicoccus neobrevipes, Beardsley Maconellicoccus hirsutus Green และ Nipaecoccus sp. แต่ไม่พบการลงทำลายของเพลี้ยแป้งชนิด C. hispidis และ P. lichi


ไฟล์แนบ
.pdf   1682_2553.pdf (ขนาด: 410.78 KB / ดาวน์โหลด: 1,960)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม