การศึกษาประสิทธิภาพของสารชีวินทรีย์ในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
#1
การศึกษาประสิทธิภาพของสารชีวินทรีย์ในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน
ศรุต สุทธิอารมณ์, เกรียงไกร จำเริญมา, วิภาดา ปลอดครบุรี และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพของสารชีวินทรีย์ในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2553 ในสวนทุเรียนเกษตรกรจังหวัดตราดที่มีการทำลายของหนอนเจาะลำต้นทุเรียน จำนวน 1 แปลง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ ๆ ละ 1 ต้น 7 กรรมวิธี เปรียบเทียบไส้เดือนฝอย 3 ชนิด ได้แก่ Steinernema carpocapsae, Steinernema glaseri และ Steinernema riobrave ชนิดละ 2 อัตรา คือ 50, 100, 10, 20, 50 และ 100 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่าพบว่า ไส้เดือนฝอยที่นำมาทดสอบให้ผลในการป้องกันกำจัดหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นในทุเรียน 5.40 – 79.13% เปอร์เซ็นต์ โดยไส้เดือนฝอย S. glaseri และ S. carpocapsae ทั้งอัตราสูงและอัตราต่ำให้ผลในการควบคุมได้ดีไม่ต่างกัน แต่ดีกว่าการพ่นด้วยน้ำเปล่า ส่วนไส้เดือนฝอย S. riobrave ทำให้หนอนตาย 5.40 – 33.33% เท่านั้น สำหรับไส้เดือนฝอย S. carpocapsae ซึ่งต้องใช้อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร คิดเป็นต้นทุนการใช้ไส้เดือนฝอย 109.37 บาทต่อต้น


ไฟล์แนบ
.pdf   1583_2553.pdf (ขนาด: 90 KB / ดาวน์โหลด: 668)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม