12-09-2015, 10:49 AM
การเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เพื่อใช้ควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เพื่อศึกษาวิธีเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการ ทำการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาพบว่า แตนเบียน T. brontispae ที่เบียนแมลงดำหนามมะพร้าว, Brontispae longissima Gestro ที่เลี้ยงด้วยใบอ่อนมะพร้าวซึ่งเป็นพืชอาหารตามธรรมชาติ มีระยะไข่ 1 - 2 วัน ระยะหนอน 6 - 8 วัน และระยะดักแด้ 10 - 13 วัน มีวงจรชีวิต 18 - 25 วัน เฉลี่ย 19.98 วัน อัตราการเบียนเฉลี่ย 62.84% อัตราการออกเป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ย 91.33% มีจำนวนแตนเฉลี่ย 23.09 ตัว แตนเบียนและมีอัตราส่วนเพศเมียเฉลี่ย 64.67% ตัวเต็มวัยแตนเบียนที่เลี้ยงด้วยน้ำผึ้ง 10% มีอายุ 7 - 26 วัน แตนเบียนเพศเมีย 1 ตัว สามารถเข้าทำลายแมลงดำหนามได้ 1 - 4 ตัว และสามารถผลิตแตนเบียนได้ 11 - 57 ตัว คิดเป็นอัตราส่วนเพศเมีย 67.35 - 76.39%
ศึกษาการเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด T. brontispae เป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการพบว่า การใช้ถ้วยพลาสติกและใช้พ่อแม่พันธุ์ 4 - 8 มัมมี่ ต่อดักแด้ 100 ตัว จะได้มัมมี่ 79.25 - 87.00% แต่สำหรับการเพาะเลี้ยงรวมกันการใช้กล่องพลาสติกที่มีขนาดใหญ่กว่า และเขี่ยพ่อแม่พันธุ์ใส่จะรวดเร็วกว่าโดยการเลี้ยงด้วยดักแด้แมลงดำหนามที่เลี้ยงจากใบแก่มะพร้าวในกล่องพลาสติกทำให้สามารถผลิตมัมมี่ได้มากขึ้น ในปี 2553 ผลิตได้ 101 - 2,383 ตัว/รอบการผลิต เดือนละ 2 - 6 รอบการผลิต จำนวน 602 - 6,723 ตัว เฉลี่ย 2,739 ตัวต่อเดือน และเพื่อยึดอายุการใช้งานได้ทดสอบการเก็บรักษาแตนเบียนในมัมมี่และดักแด้แมลงดำหนามมะพร้าวที่ 10 และ 13 องศาเซลเซียส และตู้เย็น เป็นระยะเวลาต่างกันพบว่า สามารถเก็บมัมมี่ได้นาน 14 - 17, 10 - 14 และ 14 - 17 วัน ตามลำดับ ส่วนการเก็บรักษาดักแด้แมลงดำหนามแล้วนำมาให้ T. brontispae เบียนพบว่า อัตราการเบียนจะลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บมากขึ้นที่ 10 องศาเซลเซียส ให้ผลดีที่สุด
ทดลองปล่อยแตนเบียนในแปลงมะพร้าว ตัดยอดมะพร้าวนำมานับจำนวนแมลงดำหนามมะพร้าว และประเมินระดับการทำลายใบมะพร้าว ยังไม่เห็นผลการควบคุมที่แตกต่างชัดเจน