การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
#1
การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง
มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ไตรเดช ข่ายทอง, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และเสงี่ยม แจ่มจำรูญ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ปลูกมันฝรั่ง (Potato; Solanum tuberosum L.) พันธุ์แอตแลนติก (Atlantic) ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก พื้นที่อำเภอพบพระ ตรวจพบปริมาณตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita (Kofoid and White) Chitwood เฉลี่ยจำนวน 212.5 ตัว/ดิน 500 กรัม นำเชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus (Thom.) Samson ซึ่งอยู่ในรูปของสปอร์ผสมสารเฉื่อยชนิดผงชื่อการค้าคือ ไลซินัส ดับลิวพี (Laicinus WP) รองใต้หัวปลูกในปริมาณ 0, 1, 3 และ 5 กรัมของผลิตภัณฑ์ รวมเป็น 4 กรรมวิธี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ปลูกเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2553 เก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันฝรั่งอายุ 3 เดือน พบว่าน้ำหนักผลผลิตหัวมันฝรั่งซึ่งจัดเป็นปริมาณ (Quantity) ต่อต้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ทุกกรรมวิธีคือเฉลี่ย 214 กรัม การวิเคราะห์คุณภาพ (Quality) กรรมวิธีที่ 1 จากแปลงที่ไม่ใส่เชื้อรามีดัชนีโรคหัวหูด 2.9 ซึ่งเป็นระดับสูง โรงงานไม่รับซื้อการใช้กรรมวิธีที่ 2 ใช้ไลซินัส 1 กรัม ทำให้เกิดดัชนีโรคหัวหูดระดับ 2.2 ต่างกันเล็กน้อยจากการใช้ไลซินัสขนาด 3 กรัม ซึ่งเกิดโรคหูดดัชนีเท่ากับ 2.1 แต่กรรมวิธีที่ 4 ซึ่งใช้ไลซินัสปริมาณ 5 กรัม/หลุม ทำให้ระดับการเป็นดัชนีโรคหัวหูดลดลงเหลือ 1.4 ดังนั้น การใช้สารชีวภาพในการลดการสูญเสียผลผลิตของมันฝรั่งในรูปของผงสปอร์ของเชื้อราปฏิปักษ์ P.lilacinus ผสมสารเฉื่อยชนิดผงชื่อการค้าคือ ไลซินัส ดับลิวพี อัตรา 3 กรัมต่อหลุมปลูก จึงช่วยควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมศัตรูมันฝรั่งได้แต่ต้องระมัดระวังผงฝุ่นของสารและสปอร์อาจมีปัญหาต่อระบบการหายใจ


ไฟล์แนบ
.pdf   1755_2553.pdf (ขนาด: 476.49 KB / ดาวน์โหลด: 3,075)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม