12-04-2015, 11:42 AM
การปรับปรุงพันธุ์ยาง
กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข, กัลยา ประพาน,นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์,ภัทรา กิณเรศ,กฤษดา สังข์สิงห์,รัชนี รัตนวงศ์,วิทยา พรหมมี, สมจินตนา รูเดอร์แมน, รัศมี สุรวานิช, สุเมธ พฤกษ์วรุณ, สโรชา กรีธาพล, วันเพ็ญ พฤกษวิวัฒน์, ศุภมิตร ลิมปิชัย, พนัส แพชนะ, นริศา จันทร์เรือง, อุไร จันทรประทิน, อารมณ์ โรจนสุจริต, อารดา มาสริ, รชต เกงขุนทด, ก้องกษิต สุวรรณวิหค, ประภา พงษ์อุทธา และชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์
ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา,ศูนย์วิจัยยางหนองคาย,ศูนย์วิจัยยางสงขลา,ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี,สถาบันวิจัยยาง,สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี,ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7,ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5,ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรระนอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข, กัลยา ประพาน,นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์,ภัทรา กิณเรศ,กฤษดา สังข์สิงห์,รัชนี รัตนวงศ์,วิทยา พรหมมี, สมจินตนา รูเดอร์แมน, รัศมี สุรวานิช, สุเมธ พฤกษ์วรุณ, สโรชา กรีธาพล, วันเพ็ญ พฤกษวิวัฒน์, ศุภมิตร ลิมปิชัย, พนัส แพชนะ, นริศา จันทร์เรือง, อุไร จันทรประทิน, อารมณ์ โรจนสุจริต, อารดา มาสริ, รชต เกงขุนทด, ก้องกษิต สุวรรณวิหค, ประภา พงษ์อุทธา และชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์
ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา,ศูนย์วิจัยยางหนองคาย,ศูนย์วิจัยยางสงขลา,ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี,สถาบันวิจัยยาง,สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี,ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7,ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5,ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรระนอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
การดำเนินงานโครงการปรับปรุงพันธุ์ยางมีวัตถุประสงค์หลักคือ สร้างพันธุ์ยางใหม่ที่ให้ผลผลิตน้ำยางและ/หรือเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโตดี ต้านทานโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี มีคุณสมบัติของน้ำยางที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยาง และมีลักษณะของพันธุ์ยางตรงตามความต้องการของเกษตรกร ดำเนินงานโดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ยางมาตรฐาน (Conventional Breeding method) เริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ยางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2552 จากการผสมพันธุ์ยางจำนวน 1,686 คู่ผสม ได้ต้นยางลูกผสมจำนวน 41,606 ต้น ต้นยางลูกผสมที่ได้ในแต่ละปีนำไปปลูกในแปลงคัดเลือกพันธุ์ยางเบื้องต้น กรีดทดสอบผลผลิตและคัดเลือกต้นกล้าลูกผสมที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง เจริญเติบโตดี เปลือกหนาและจำนวนวงท่อน้ำยางมาก จากคู่ผสมที่มีค่าเฉลี่ยสูง แล้วคัดเลือกต้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงในคู่ผสมนั้น (Individual within family selection) ซึ่งผลจากการดำเนินคัดเลือกพันธุ์เบื้องต้นพบว่าต้นยางลูกผสมที่ปลูกรอดตายจำนวน 32,260 ต้น มีต้นตาย 7,789 ต้น คิดเป็นร้อยละ 24.1 เปิดกรีดได้ 23,049 ต้น และมีต้นยางลูกผสมปี พ.ศ.2549-2552 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดกรีด คัดเลือกต้นยางลูกผสมได้จำนวน 3,816 สายพันธุ์ คิดเป็นอัตราร้อยละ 18.4 ของจำนวนต้นเปิดกรีด ตัดกิ่งนำไปติดตาขยายพันธุ์และติดตาต้นกล้านำไปปลูกในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จำนวน 38 แปลงทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบ Triple lattice 2-3 ซ้ำ ระยะปลูก 3x7 เมตร จำนวน 6-10 ต้นต่อแปลงย่อย ผลการดำเนินการเปิดกรีดได้ 18 แปลงทดลอง คัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง มีลักษณะรองอื่นๆ ที่ดี เช่น การเจริญเติบโตดี ต้านทานโรคที่สำคัญในระดับปานกลาง–ดี ได้จำนวน 171 สายพันธุ์ นำขยายพันธุ์และติดตาปลูกในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายในพื้นที่ต่างๆ จำนวน 26 แปลงทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block 3 ซ้ำ ดำเนินการเปิดกรีดได้ 4 แปลงทดลอง ผลการทดลองที่ได้นำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น คัดเลือกได้พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง มีลักษณะรองอื่นๆ ที่ดี ได้จำนวน 35 สายพันธุ์ นำไปจัดทำเป็นพันธุ์ยางแนะนำในคำแนะนำพันธุ์ยางปี พ.ศ. 2550 และ 2554 (ฉบับร่าง) ดังนี้ พันธุ์ยางชั้น 1 กลุ่ม 1 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 408 กลุ่ม 3 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ได้แก่ ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ยางชั้น 2 กลุ่ม 1 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 319 สถาบันวิจัยยาง 405 สถาบันวิจัยยาง 406 สถาบันวิจัยยาง 410 สถาบันวิจัยยาง 411 สถาบันวิจัยยาง 416 สถาบันวิจัยยาง 417 สถาบันวิจัยยาง 3601 สถาบันวิจัยยาง 3602 สถาบันวิจัยยาง 3603 สถาบันวิจัยยาง 3605 กลุ่ม 2 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 312 สถาบันวิจัยยาง 325 สถาบันวิจัยยาง 403 สถาบันวิจัยยาง 404 สถาบันวิจัยยาง 407 สถาบันวิจัยยาง 409 สถาบันวิจัยยาง 412 สถาบันวิจัยยาง 413 สถาบันวิจัยยาง 3604 สถาบันวิจัยยาง 3607 กลุ่ม 3 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 401 สถาบันวิจัยยาง 414 สถาบันวิจัยยาง 415 พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 3701 สถาบันวิจัยยาง 3702 สถาบันวิจัยยาง 3901 สถาบันวิจัยยาง 3902 สถาบันวิจัยยาง 3903 สถาบันวิจัยยาง 3904 สถาบันวิจัยยาง 3905 สถาบันวิจัยยาง 3906 สถาบันวิจัยยาง 3907