10-13-2015, 02:20 PM
การผลิตและการรักษาสปอร์โรซีสต์ของคอคซิเดียนโปรโตซัว S. singaporensis เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตสารชีวินทรีย์กำจัดหนู
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การผลิตสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัว S. singaporensis ได-สารแขวนลอยโปรโตซัว S. singaporensis ที่มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคในหนูสูง จำนวน 3500 ล้านสปอร์โรซีสต์ และแบ่งเพื่อการวิจัยการเก็บรักษา โดยเก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดจำนวน 5 ล้านสปอร์โรซีสต์ และในสารละลายเกลือ PBS 1% จำนวน 5 สปอร์โรซีสต์ ในตู้เย็นที่อุณภูมิ 4-10 องศาเซลเซียส ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ 1, 6 และ 12 เดือน ส่วนสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต S. singaporensis ที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดและนาน 1, 6 และ 12 เดือน สามารถทำให้หนูท้องขาวชุดละ 4 ตัว ป่วยและตายทั้งหมด (100%) ส่วนสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% นาน 1 และ 6 เดือน ป่วยและตายทั้งหมด และที่เก็บรักษาในตู้เย็นนาน 12 เดือน พบหนูท้องขาวป่วยและตายเพียง 3 ตัวจาก 4 ตัว คิดเป็น 75%