การผลิตและการใช้ไ รตัวห้ำ, Amblyseius spp. ควบคุมเพลี้ยไฟ
#1
การผลิตและการใช้ไ รตัวห้ำ, Amblyseius spp. ควบคุมเพลี้ยไฟ
มานิตา คงชื่นสิน, พิเเชฐ เชาวนวัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมิมลวรรณ โชติวิวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาการผลิตและการใช้ไรตัวห้ำ Amblyseius californicus เพื่อใช้ควบคุมเพลี้ยไฟ ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และที่แปลงเกษตรกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 วงจรชีวิตของไรตัวห้ำ A.californicus เมื่อทดลองให้ กินเพลี้ยไฟ Scirtothrip dorsalis เป็นอาหารพบว่า ไรตัวห้ำมีระยะการเจริญเติบโต รวม 5 ระยะ ได้ แก่ ไข่ ตัวอ่อนระยะที่ 1, 2 และ 3 และตัวเต็มวัย ใช้ เวลานานประมาณ 4 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยประมาณ 25 วัน สามารถกินเพลี้ยไฟระยะตัวอ่อนได้ วันละประมาณ 10 ตัว วางไข่ได้วันละ 1-2 ฟอง ส่วนการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ไรตัวห้ำ A.californicus เป็นปริมาณมาก พบว่าเพาะเลี้ยงได้ โดยใช้ ไรแดง หม่อนเป็นอาหารบนต้นถั่วพุ่มที่เพาะปลูกในโรงเรือน ใช้เวลาการผลิตนานประมาณ 5 สัปดาห์ต่อรอบการผลิต สามารถผลิตไรตัวห้ำได้ ประมาณ 6-7 เท่าจากปริมาณไรตัวห้ำพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มต้น สำหรับการทดสอบปล่อยไรตัวห้ำ A.californicus เพื่อควบคุมเพลี้ยไฟในสภาพแปลงปลูกของเกษตรกรเปรียบเทียบกับแปลงพ่นสารฆ่าแมลง imidacloprid 10 %SL อัตรา 10-20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผลการทดลองพบว่า การใช้ ไรตัวห้ำ A.californicus ไม่สามารถควบคุมการระบาดของเพลี้ยไฟ S.dorsalis ที่ทำลายบนกุหลาบได้ ส่วนไรตัวห้ำ A.swirskii ที่มีการวางแผนนำเข าจากต่างประเทศ ไม่สามารถดำเนินการนำเข ามาในประเทศไทยได้ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงขอสิ้นสุดการทดลองในปี 2554


ไฟล์แนบ
.pdf   2059_2554.pdf (ขนาด: 140.38 KB / ดาวน์โหลด: 1,690)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม