การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีววิทยา
#1
การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีววิทยา
กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีทองชัย, สุมนา งามผ่องใส และเชาวนาถ พฤทธิเทพ
กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนยวิจัยพืชไร่ชัยนาท สถาบันวิจัยพืชไร่ 

          โรคไวรัสใบด่างเหลืองถั่วเขียว (Mumgbean Yellow Mosaic Virus, MYMV) สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลถั่วได้ทุกระยะการเจริญเติบโตโดยเฉพาะถั่วเขียวผิวมัน เมื่อโรคเขาทำลายในระยะต้นกล้าจะไม่สามารถเก็บผลผลิตได้เลย ดังนั้น วิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวต้องมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลพันธุ์ที่ทดสอบเพื่อประโยชน์ทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานโรคนี้ต่อไปในอนาคต การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) ด้วยไพรเมอร์ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อ (specific primer) 1 คู่ คือ MYMV-V2-F1 และ MYMV-C3-F1 ในงบประมาณปี 2554 ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ถั่วเขียวให้ต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองให้กับศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท รวม 4 คู่ผสม (คู่ผสมละ 5 สายพันธุ์) ได้แก่ คู่ผสมที่ 1 CN 72 x NM 92, คู่ผสมที่ 2 CN 72 x NM 54, คู่ผสมที่ 3 NM 92 x CN 72 และคู่ผสมที่ 4 NM 54 x CN 72 โดยนำถั่วเขียวทุกสายพันธุ์มาปลูกเชื้อไวรัส MYMV ด้วยแมลงหวี่ขาวและสังเกตอาการภายในเรือนทดลองรวม 45 วัน หลังจากนั้นประเมินความรุนแรงของโรคจากการสังเกตด้วยตาเปล่าและอ้างอิงตามเกณฑ์ Disease Scoring Scale (1-9) for MYMV (Sadiq et al., 2006) จากการทดสอบพบว่า ถั่วเขียวทั้ง 4 คู่ผสม มีการเข้าทำลายของโรคใบด่างเหลืองเป็น 100 เปอรเซ็นต์ ประเมินความรุนแรงของโรคอยู่ที่ระดับ 9 หมายถึง พืชแสดงความอ่อนแอต่อโรคมากจึงไม่ต้องนำมาตรวจการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส MYMV ด้วยเทคนิค PCR
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม