การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา
#1
การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ (witches’ broom) ของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา
กาญจนา วาระวิชะนี, ปริเชษฐ์   ตั้งกาญจนภาสน์ และวันเพ็ญ ศรีทองชัย
กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ทั้งการแปรรูปเพื่อการบริโภค และใช้เป็นอาหารสัตว์ ในปัจจุบันแผนยุทธศาสตร์ของประเทศได้กำหนดใหมันสำปะหลังเป็นพืชทดแทนพลังงานเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตเอทานอล จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่ในการปลูกมากขึ้น ในเดือนเมษายน ปี 2551 เกิดมีการระบาดของเพลี้ยแป้งเข้าทำลายมันสำปะหลังที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ต่อมา รศ.ณรงค์ 2552 ได้มีรายงานว่าสำรวจพบโรคพุ่มแจ้ (Phyllody) มันสำปะหลัง ที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา แพร่ระบาดไปตามพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี เป็นต้น สำหรับประเทศไทยยังมีผู้ศึกษาโรคนี้น้อยมากและยังไม่มีหลักฐานของข้อมูลใดปรากฏว่าพบโรคพุ่มแจ้ (witches’ broom) มันสำปะหลังในประเทศไทย ในปี 2554 ตรวจตัวอยางสำปะหลังที่แสดงอาการคลายเชื้อไฟโตพลาสมาในพื้นที่ปลูกของประเทศไทยทางภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีน และอีสาน ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ รอยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแกน กาฬสินธุ์ และอุดรธานี ด้วย universal ในส่วน 16s ribosomal RNA ด้วย primer 2 คู่ คือ P1/P7 และ R16F2/R2 จากการตรวจสอบยังไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไฟโตพลาสมาในทุกตัวอยาง


ไฟล์แนบ
.pdf   2241_2554.pdf (ขนาด: 99.38 KB / ดาวน์โหลด: 1,292)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม