10-12-2015, 04:29 PM
ศึกษาลักษณะอาการ สาเหตุ และการแพร่ระบาดของโรคผลเน่าชมพู่
พจนา ตระกูลสุขรัตน์, สุพัตรา อินทวิมลศรี, พรพิมล อธิปัญญาคม และนลินี ศิวากรณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจและเก็บรวบรวมสวนชมพู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีและนครปฐม จำนวน 22 สวน ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 – กุมภาพันธ์ 2554 พบตัวอย่างชมพู่เป็นโรคผลเน่าทั้งหมด 15 ตัวอย่าง สภาพสวนที่พบโรคจะไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ปลูกชิด ไว้ลูกต่อช่อมากและมีสภาพรก การระบายน้ำไม่ค่อยดี พบแผลเน่าเกิดบริเวณปลายผลมากกว่าบริเวณใกล้ขั้วผล แผลที่พบบนผล 3 ลักษณะ แยกเชื้อและนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้โคโลนี 2 แบบ ตรวจสอบลักษณะเส้นใยและสปอร์ขยายพันธุ์ใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเป็นเชื้อราในกลุ่ม Colletotrichum spp. และ Pestaliotia spp.
พจนา ตระกูลสุขรัตน์, สุพัตรา อินทวิมลศรี, พรพิมล อธิปัญญาคม และนลินี ศิวากรณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจและเก็บรวบรวมสวนชมพู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีและนครปฐม จำนวน 22 สวน ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 – กุมภาพันธ์ 2554 พบตัวอย่างชมพู่เป็นโรคผลเน่าทั้งหมด 15 ตัวอย่าง สภาพสวนที่พบโรคจะไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ปลูกชิด ไว้ลูกต่อช่อมากและมีสภาพรก การระบายน้ำไม่ค่อยดี พบแผลเน่าเกิดบริเวณปลายผลมากกว่าบริเวณใกล้ขั้วผล แผลที่พบบนผล 3 ลักษณะ แยกเชื้อและนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้โคโลนี 2 แบบ ตรวจสอบลักษณะเส้นใยและสปอร์ขยายพันธุ์ใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเป็นเชื้อราในกลุ่ม Colletotrichum spp. และ Pestaliotia spp.