11-23-2015, 10:01 AM
เทคโนโลยีการผลิตขยายและการใช้แตนเบียน Encarsia sp. เพื่อควบคุมแมลงหวี่ขาว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เพื่อได้เทคโนโลยีการผลิตและการใช้แตนเบียน Encarsia sp. ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมแมลงหวี่ขาวจากแปลงปลูกมันสำปะหลัง จากวัชพืชบริเวณรอบแปลง เช่น หญ้ายาง ตำแยแมว ต้นฝรั่ง น้อยหน่า พริก และกล้วย ที่อำเภอเมือง และศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างตุลาคม 2554 – กันยายน 2555 ผลการทดลองพบว่า สามารถจำแนกแมลงหวี่ขาวที่พบบนมันสำปะหลังได้ 2 ชนิด พบว่าเป็นแมลงหวี่ขาวใยเกลียว; Aleurodicus disperses Russell และแมลงหวี่ขาวยาสูบ; Bemisia tabaci (Gennadius) พบแตนเบียนแมลงหวี่ขาว จำนวน 2 ชนิด จากการจำแนกเบื้องต้นพบว่า เป็นแตนเบียนสกุล Encarsia ทั้ง 2 ชนิด ทำการศึกษาชีววิทยาของแมลงหวี่ขาวใยเกลียวบนต้นมันสำปะหลังเบื้องต้นพบว่า มีวงจรชีวิต 24 - 35 วัน เฉลี่ย 27.60 วัน มีระยะไข่ ตัวอ่อนวัยที่ 1 - 3 และดักแด้ นาน 5-6, 4-8, 3-10, 3-8 และ 4-9 วัน ตามลำดับ เฉลี่ย 5.50, 5.13, 4.62, 5.15 และ 7.10 วัน ตามลำดับ จากการศึกษาพฤติกรรมของแมลงหวี่ขาวใยเกลียวพบว่า ตัวเต็มวัยจะวางไข่บริเวณใต้ใบมันสำปะหลัง ตัวอ่อนวัย 1 ที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะเดินไปมาบนใบมันสำปะหลัง เมื่อลอกคราบเป็นวัย 2 ลำตัวจะค่อยแบนลงและจะเกาะอยู่กับที่และเริ่มสร้างเส้นใยสีขาวรอบตัว ตัวอ่อนวัยที่ 3 จะสร้างไข่สีขาวเพิ่มขึ้นและลอกคราบเข้าดักแด้อยู่บนใบมันสำปะหลัง ตัวเมียจะชอบวางไข่บนใบอ่อนที่อยู่ถัดขึ้นไปด้านบนบริเวณใกล้ยอดมันสำปะหลัง เพศเมียชอบวางไข่บนใบมันสำปะหลังที่ไม่อ่อนไม่แก่ แต่หากมีการระบาดมากจะมีการวางไข่ที่ถัดจากใบยอดลงมาด้วย จากการตรวจผลการเบียนพบแตนเบียนสกุล Encarsia ออกจากตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวที่เก็บจากแปลงมันสำปะหลังเฉพาะตัวอ่อนแมลงหวี่ขาววัยที่ 3 พบว่ามีอัตราการเบียน 1.58 - 44.44% ไม่พบการเบียนตัวอ่อนแมลงหวี่ขาววัย 1 และ 2 ทดสอบพืชอาหารของแมลงหวี่ขาวใยเกลียวในกรงมีแนวโน้มว่าจะชอบฝรั่งมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มันสำปะหลัง หญ้ายาง และตำแยแมว จะทำการศึกษาซ้ำและเพิ่มเติมต่อไป