10-12-2015, 04:26 PM
การคัดเลือกสารฆ่าไรในการป้องกันกำจัดไรแดงในแปลงทดสอบ
พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล และมานิตา คงชื่นสิน
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าไรในการป้องกันกำจัดไรแมงมุมคันซาวา Tetranychuskanzawai Kishida ในมะละกอที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ก่อนทำการทดลองสุ่มนับจำนวนไรก่อนการพ่นสาร แล้วจึงพ่นสารป้องกันกำจัดไรตามกรรมวิธี ทำการตรวจนับจำนวนไรหลังพ่นสาร 7 14 และ 21 วัน พบว่า ก่อนพ่นสารทุกกรรมวิธีมีปริมาณไรแตกต่างกันทางสถิติ จึงต้องใช้การวิเคระห์ความแปรปรวนแบบ COVAEIANCE ที่ 7, 14 และ 21 วันหลังพ่นสาร ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีปริมาณไรเฉลี่ยต่อตารางนิ้วน้อยกว่ากรรมวิธีไม่พ่นสาร และแตกต่างกันทางสถิติ สารโพรพาไกด์แสดงอาการเกิดพิษกับใบมะละกอ
พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล และมานิตา คงชื่นสิน
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าไรในการป้องกันกำจัดไรแมงมุมคันซาวา Tetranychuskanzawai Kishida ในมะละกอที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ก่อนทำการทดลองสุ่มนับจำนวนไรก่อนการพ่นสาร แล้วจึงพ่นสารป้องกันกำจัดไรตามกรรมวิธี ทำการตรวจนับจำนวนไรหลังพ่นสาร 7 14 และ 21 วัน พบว่า ก่อนพ่นสารทุกกรรมวิธีมีปริมาณไรแตกต่างกันทางสถิติ จึงต้องใช้การวิเคระห์ความแปรปรวนแบบ COVAEIANCE ที่ 7, 14 และ 21 วันหลังพ่นสาร ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีปริมาณไรเฉลี่ยต่อตารางนิ้วน้อยกว่ากรรมวิธีไม่พ่นสาร และแตกต่างกันทางสถิติ สารโพรพาไกด์แสดงอาการเกิดพิษกับใบมะละกอ