11-19-2015, 03:31 PM
การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ดำเนินการทดสอบการใช้ไรตัวห้ำควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังชนิดต่างๆ ในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยทำการปล่อยไรตัวห้ำ จำนวน 5 ครั้ง และพ่นสารฆ่าไร 4 ครั้ง บันทึกข้อมูลชนิดและจำนวนไรศัตรูมันสำปะหลังทุกชนิด และไรและแมลงศัตรูธรรมชาติ รวมทั้งแมงมุม ในแปลงทดลองทุกสัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า การระบาดของไรศัตรูมันสำปะหลังในแปลงทดลองมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของไร่ในปีที่ผ่านมา พบประชากรไรสูงในช่วงสั้นๆ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม การจัดการป้องกันกำจัดไรโดยชีววิธีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการพ่นสารและแปลงควบคุมจึงเห็นผลไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า แปลงที่ปล่อยไรตัวห้ำพบว่ามีไรศัตรูมันสำปะหลังน้อยกว่าแปลงพ่นสารฆ่าไร และแปลงควบคุม งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเบื้องต้น จากปัญหาที่พบจะดำเนินแก้ไข และจะดำเนินการการทดลองซ้ำในปี 2556
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ดำเนินการทดสอบการใช้ไรตัวห้ำควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังชนิดต่างๆ ในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยทำการปล่อยไรตัวห้ำ จำนวน 5 ครั้ง และพ่นสารฆ่าไร 4 ครั้ง บันทึกข้อมูลชนิดและจำนวนไรศัตรูมันสำปะหลังทุกชนิด และไรและแมลงศัตรูธรรมชาติ รวมทั้งแมงมุม ในแปลงทดลองทุกสัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า การระบาดของไรศัตรูมันสำปะหลังในแปลงทดลองมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของไร่ในปีที่ผ่านมา พบประชากรไรสูงในช่วงสั้นๆ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม การจัดการป้องกันกำจัดไรโดยชีววิธีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการพ่นสารและแปลงควบคุมจึงเห็นผลไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า แปลงที่ปล่อยไรตัวห้ำพบว่ามีไรศัตรูมันสำปะหลังน้อยกว่าแปลงพ่นสารฆ่าไร และแปลงควบคุม งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเบื้องต้น จากปัญหาที่พบจะดำเนินแก้ไข และจะดำเนินการการทดลองซ้ำในปี 2556