ศักยภาพของฝอยทองในการควบคุมบาหยา (หญ้าดอกขาว)
#1
ศักยภาพของฝอยทองในการควบคุมบาหยา (หญ้าดอกขาว)
เสริมศิริ คงแสงดาว และกลอยใจ คงเจี้ยง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          บาหยาชนิดที่เป็นวัชพืช หรือหญ้าดอกขาว (Chinese Violet); (Asystasia intrusa (Bl.) เป็นวัชพืชที่ทำให้ผลผลิตสับปะรดลดลง และฝอยทอง (Chinese dodder); (Cuscuta chinensis Lam.) เป็นวัชพืชกาฝาก ลำต้นเป็นเส้นกลมยาวอ่อนนุ่มสีเหลือง ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยดูดกินอาหารและน้ำจากพืชอาศัย พบมีอยู่แล้วในประเทศไทย การทดลองนี้เพื่อทราบศักยภาพของการนำฝอยทองไปใช้ควบคุมหญ้าดอกขาว ดำเนินการในเรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 9 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ใช้ต้นหญ้าดอกขาวอายุ 80 วัน และต้นฝอยทอง 2 ชนิด คือชนิดมีเมล็ด และชนิดไม่มีเมล็ด แต่ละชนิดเบียนโดยใช้ชิ้นส่วนของยอด และกิ่งของพืชอาศัยที่มีฝอยทองติดอยู่ จำนวน 1 และ 2 ชิ้นส่วน เปรียบเทียบกับการไม่เบียนพบว่า การใช้ยอดฝอยทองเบียน ฝอยทองสามารถปรับตัวให้เข้ากับต้นพืชอาศัยได้ง่ายกว่าการใช้ฝอยทองที่ติดอยู่กิ่งของพืชอาศัยเบียน หลังจากนั้นฝอยทองจะเจริญเติบโตปกคลุมต้นหญ้าดอกขาวอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นหญ้าดอกขาวส่วนที่ถูกเบียนแห้งตายไปพร้อมๆ กับต้นฝอยทอง โดยฝอยทองชนิดที่มีเมล็ดทำให้ต้นหญ้าดอกขาวตายเร็วกว่าฝอยทองชนิดที่ไม่มีเมล็ด เมื่อฝอยทองไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจึงเก็บเกี่ยวต้นหญ้าดอกขาว ทั้งส่วนที่ยังมีชีวิตและส่วนที่แห้งตาย นำมาแยกเอาต้นฝอยทองออกทั้งส่วนที่ยังมีชีวิตพบว่า หลังจากที่ฝอยทองเบียนจนหญ้าดอกขาวตายแล้ว ฝอยทองงอกใหม่จากลำต้นของหญ้าดอกขาวที่ยังมีชีวิตได้ช้า จึงทำให้ต้นหญ้าดอกขาวที่รอดชีวิตและโตเร็วกว่าเจริญเป็นปกติ สรุปว่าฝอยทองจึงมีศักยภาพต่ำในการนำมาใช้ควบคุมหญ้าดอกขาว และจากการทดลองนำฝอยทองไปใช้ควบคุมต้นหญ้าดอกขาวในสับปะรดพบว่าปลอดภัยต่อสับปะรด


ไฟล์แนบ
.pdf   2087_2554.pdf (ขนาด: 486.49 KB / ดาวน์โหลด: 1,552)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม