10-12-2015, 04:04 PM
การจำแนกชนิดของราสกุล Colletotrichum สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Colletotrichum ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 36 ตัวอย่าง จากพืชทั้งหมด 9 ชนิด ในจังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี กรุงเทพฯ กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงใหม่ นครปฐม นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ระยอง ราชบุรี ศรีสะเกษ สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ตัวอย่างโรคพืชที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber และโดยวิธีการแยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค ผลจากการศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาจำแนกได้รา Colletotrichum จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Colletotrichum gloeosporioides และ C. capsici และ Colletotrichum spp. 8 ชนิด (ตารางที่ 1) ซึ่งมีลักษณะของสปอร์คล้ายๆ กัน ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อในระดับ species และศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อต่อไป และตัวอย่างแห้งโรคพืชเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรคพืชที่กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Colletotrichum ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 36 ตัวอย่าง จากพืชทั้งหมด 9 ชนิด ในจังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี กรุงเทพฯ กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงใหม่ นครปฐม นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ระยอง ราชบุรี ศรีสะเกษ สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ตัวอย่างโรคพืชที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber และโดยวิธีการแยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค ผลจากการศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาจำแนกได้รา Colletotrichum จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Colletotrichum gloeosporioides และ C. capsici และ Colletotrichum spp. 8 ชนิด (ตารางที่ 1) ซึ่งมีลักษณะของสปอร์คล้ายๆ กัน ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อในระดับ species และศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อต่อไป และตัวอย่างแห้งโรคพืชเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรคพืชที่กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ