การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ฟลูซิลาโซล (flusilazole)
#1
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ฟลูซิลาโซล (flusilazole) ในผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ดวงรัตน์ วิลาสินี และพินิตนันต์ สรวยเอี่ยม
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          จากการศึกษาการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ ฟลูซิลาโซล (flusilazole) ในผลิตภัณฑ์สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) ชนิด Flame Ionization detector (FID) ใช้คอลัมน์ชนิด Capillary ภายในเคลือบด้วย 5%Phenyl Methyl Siloxane (HP-5) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.32 มิลลิเมตร ความยาว 30 เมตร ความหนาของฟิล์ม 0.25 ไมโครเมตร โดยมีก๊าซ He เป็นตัวพา จากผลการทดสอบพบว่าช่วงของการวัด (Working range) และค่าความเป็นเส้นตรง (linearity) อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.3 – 1.8 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, r) มากกว่า 0.990 ซึ่งเกณฑ์ยอมรับค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient, r) ≥ 0.990 การตรวจสอบความเที่ยง (Precision) แบบ Repeatability ค่า HORRAT ของ flusilazole อยู่ในช่วง 0.38 – 0.69 ตรวจสอบ Robustness และ Ruggedness ได้ค่า HORRAT อยู่ในช่วง 0.41 – 1.25 ซึ่งไม่เกิน 0.3 - 1.3 ตามเกณฑ์พิจารณาของ AOAC และตรวจสอบความถูกต้อง (Accuracy) จากค่าเปอร์เซ็นต์ recovery ของแต่ละความเข้มข้นอยู่ในช่วง 99.88 – 100.92 ซึ่งอยู่ในช่วง 98 - 102 ตามเกณฑ์พิจารณาสำหรับสารที่มีปริมาณมากกว่า 10% ของ AOAC วิธีนี้มีความจำเพาะเจาะจง (specificity) ไม่มีการรบกวนของสารอื่น และประมาณค่าความไม่แน่นอนของ flusilazole เท่ากับ 40.32 ± 0.45 %W/V EC ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ตามลำดับ จากผลการทดสอบดังกล่าวพบว่า คุณลักษณะเฉพาะของวิธีเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับ ดังนั้นวิธีที่พัฒนานี้จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์วัตถุมีพิษการเกษตรได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

คำหลัก: ฟลูซิลาโซล การตรวจสอบความใช้ได้ชองวิธีวิเคราะห์


ไฟล์แนบ
.pdf   22. การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ฟลูซิลาโซล (flusilazole) ในผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช.pdf (ขนาด: 343.93 KB / ดาวน์โหลด: 523)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม