ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณและประสิทธิภาพจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
#1
ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์ กัลยกร โปร่งจันทึก
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนด้วยวิธี Acetylene Reduction Assay (ARA) และการวิเคราะห์ปริมาณด้วยวิธี Most Probable Number (MPN) และ Viable plate count เป็นวิธีที่ใช้คัดเลือกจุลินทรีย์อ้างอิงเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ Azospirillum brasilense (DASF04003) และ Azotobacter vinelandii (DASF04141) เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้ออ้างอิงในการทดลอง ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 2 สายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนและเจริญเติบโตได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ความใช้ได้ของวิธีทดสอบของเชื้อ A. brasilense (DASF04003) พบว่าความเที่ยงของความสามารถในการทำซ้ำมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (CV) เท่ากับ 2.79 เปอร์เซ็นต์ ความแม่นของวิธีได้ค่าร้อยละการคืนกลับ (%Recovery) ของวิธีทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 10-1 และ 10-4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 98.39 และ 103.65 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่วิเคราะห์ได้ (LOD) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถวัดเชิงปริมาณได้ (LOQ) เท่ากับ 4.68 และ 1.58 Log10CFU ตามลำดับ และค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบเท่ากับ 0.599 ขณะที่เชื้อ A. vinelandii (DASF04141) การทดสอบความสามารถในการทำซ้ำมี CV เท่ากับ 5.61 เปอร์เซ็นต์ ค่า %Recovery ของวิธีทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 10-1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 118.55 เปอร์เซ็นต์ มีค่า LOD และค่า LOQ เท่ากับ 6.36 และ 4.90 Log10CFU ตามลำดับ และค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบเท่ากับ 0.421 ขณะที่การทดสอบความเที่ยงแบบ between-analyst variation โดยใช้ Student’s t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ของจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

คำสำคัญ: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี ประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยชีวภาพ


ไฟล์แนบ
.pdf   17. ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณและประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์.pdf (ขนาด: 309.17 KB / ดาวน์โหลด: 703)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม