การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของมันสำปะหลังในระดับพื้นที่
#1
การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของมันสำปะหลังในระดับพื้นที่
นุชนาฏ ตันวรรณ, สายน้ำ อุดพ้วย, วลัยพร ศะศิประภา, ปรีชา กาเพ็ชร, อานนท์ มลิพันธ์ และไชยา บุญเลิศ
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์

          สำรวจชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่การผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการแปลงเบื้องต้นของเกษตรกรต่อศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน ดำเนินการสำรวจในไร่เกษตรกร ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 โดยวางแผนการสำรวจแบบการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลการจัดการแปลงมันสำปะหลังและเก็บตัวอย่างตัวอย่างพืชในช่วงที่มันสำปะหลังอายุ 7 - 10 เดือน วิเคราะห์มวลชีวภาพ และปริมาณอินทรีย์คาร์บอนผลการสำรวจพื้นที่การผลิตมันสำปะหลังพบว่า เกษตรกรในพื้นที่เลือกปลูก พันธุ์ระยอง 72 และ CMR33-38-48 มากที่สุด รองลงมาเป็นพันธุ์ระยอง 11, ระยอง 9, CMR33-53-81, ระยอง 13, CMR43-08-89, CMR33-35-69, CMR36-55-166, ระยอง 2 และระยอง 5 ตามลำดับ การใส่ปุ๋ยเคมี 1 ครั้งต่อฤดูปลูกทำให้มันสำปะหลังมีการกักเก็บคาร์บอนในต้นมากที่สุดมวลชีวภาพของต้นมันสำปะหลังที่อายุ 7 - 10 เดือน อยู่ในช่วง 1.028 - 4.259 ตัน/ไร่ โดยมีสัดส่วนน้ำหนักส่วนหัวมากที่สุด (67.3%) รองลงมาเป็นลำต้น เหง้า ใบ และก้านใบ ตามลำดับ สำหรับปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในช่วง 1.834 - 7.621 ตัน CO2/ไร่ โดยคิดเป็นสัดส่วนของคาร์บอนในส่วนของหัวมันสำปะหลังมากที่สุด รองลงมาเป็นลำต้น เหง้า ใบ และก้านใบ ตามลำดับ ทั้งนี้ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของต้นมันสำปะหลังในพื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นส่วนของหัว ลำต้น เหง้า ใบ และก้านใบ เป็น 3.091 0.860 0.394 0.037 และ 0.009 ตัน CO2/ไร่

คำหลัก : การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กักเก็บคาร์บอน มันสำปะหลัง ระดับพื้นที่


ไฟล์แนบ
.pdf   15. การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของมันสำปะหลังในระดับพื้นที่.pdf (ขนาด: 486.98 KB / ดาวน์โหลด: 929)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม