การศึกษาการจัดการดินเพื่อการผลิตกระเทียมระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินทราย
#1
การศึกษาการจัดการดินเพื่อการผลิตกระเทียมระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินทราย
สรัตนา เสนาะ, รมิดา ขันตรีกรม, อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์, กัลยกร โปร่งจันทึก, วราภรณ์ อินทรทรง, ผกาสินี คล้ายมาลา, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์
ศูนย์วิจัยข้าวคลองหลวง กรมการข้าว และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาการจัดการดินผลิตกระเทียมระบบเกษตรอินทรีย์กลุ่มดินทราย จังหวัดยโสธร ปี 2560 - 2562 เพื่อได้รูปแบบการผลิตกระเทียมอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ วางแผนการทดลองแบบ RCB 8 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยกระเทียมปลูกฤดูแล้ง ถั่วลิสงปลูกฤดูฝน ดังนี้ 1) ปลูกกระเทียมไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ปลูกถั่วลิสง 2) ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 900 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ปลูกถั่วลิสง 3) ปลูกกระเทียมใส่กระถินป่น 900 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ปลูกถั่วลิสง 4) ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 450 กิโลกรัมต่อไร่ กระถินป่น 450 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ปลูกถั่วลิสง 5) ปลูกกระเทียมไม่ใส่ปุ๋ย ปลูกถั่วลิสง 6) ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 900 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกถั่วลิสง 7) ปลูกกระเทียมใส่กระถินป่น 900 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกถั่วลิสง และ 8) ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 450 กิโลกรัมต่อไร่ กระถินป่น 450 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกถั่วลิสง คลุกเมล็ดถั่วลิสงด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมและไถกลบซากต้นถั่วลิสง อัตราปุ๋ยหมัก กระถินป่นเทียบปริมาณธาตุอาหารทั้งสองกับคำแนะนำใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (กรมวิชาการเกษตร, 2553) พบว่า ได้ 3 รูปแบบการผลิตคุ้มการลงทุนปีที่ 2 (ปี2561) ผลผลิตสด 465 - 708 กิโลกรัมต่อไร่ รูปแบบ1 ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 900 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกถั่วลิสง รูปแบบ2 ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 450 กิโลกรัมต่อไร่ กระถินป่น 450 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกถั่วลิสงและรูปแบบ 3 ปลูกกระเทียมใส่ปุ๋ยหมัก 900 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่ปลูกถั่วลิสงแต่รูปแบบ 1 และ 2 มีรายได้เพิ่มจากผลผลิตถั่วลิสง (ผลผลิตฝักแห้ง 118 กิโลกรัมต่อไร่) ในปีที่ 2 (ปี 2561) ดินมีค่าความเป็นกรดด่าง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินและโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินสูงขึ้น

คำหลัก: เกษตรอินทรีย์ การจัดการดิน กระเทียมอินทรีย์


ไฟล์แนบ
.pdf   8. การศึกษาการจัดการดินเพื่อการผลิตกระเทียมระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินทราย.pdf (ขนาด: 629.79 KB / ดาวน์โหลด: 349)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม