การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารกำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดน้อยหน่าเพื่อการป้องกันกำจัดหนอนใยผักคะน้า
#1
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารกำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดน้อยหน่าเพื่อการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า
ธิติยาภรณ์ อุดมศิลป์, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, สุทิศา เงินเรืองโรจน์, พจนีย์ หน่อฝั้น และสุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
กลุ่มงานวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตรจากสารธรรมชาติ กองวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สารกำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดน้อยหน่า เพื่อการป้องกันหนอนใยผักในคะน้า ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเตรียมผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปน้อยหน่าสูตร EC ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย ชนิดของสารลดแรงตึงผิว ปริมาณตัวทำละลายและสารลดแรงตึงผิว และทดสอบความคงสภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 3 เดือน ไม่เกิดการแยกชั้น ไม่เกิดการตกตะกอน แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้อยหน่าสูตร EC มีความคงตัวดี และพบว่าระยะเวลาการเก็บรักษาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการสลายตัวของสารสำคัญ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้อยหน่าสูตร EC ในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีผลทำให้หนอนใยผักตาย อยู่ระหว่าง 27.50 - 85.00 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบประสิทธิภาพต่อหนอนใยผักในแปลงคะน้าเกษตรกร ดำเนินการทดลองในแปลงทดสอบที่จังหวัดนครปฐม และแปลงทดสอบที่จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าการพ่นสารผลิตภัณฑ์สาเร็จรูปน้อยหน่าสูตร EC มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักได้ดีไม่แตกต่างกันทางสถิติจากการพ่นสารทดลอง Bacillus thuringiensis และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการกำจัดหนอนใยผัก พบว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้อยหน่าสูตร EC ที่อัตรา 50 และ 70 ม.ล./น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพเฉลี่ยที่ 71.02 - 79.49 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับการใช้สารทดลอง Bacillus thuringiensis ที่มีประสิทธิภาพเฉลี่ยที่ 70.56 - 79.30 เปอร์เซ็นต์ และได้ผลผลิตเทียบเท่ากับการพ่นสารทดลอง Bacillus thuringiensis เช่นเดียวกัน

คำสำคัญ: น้อยหน่า, หนอนใยผัก, สารสกัดน้อยหน่า, สูตรผลิตภัณฑ์, คะน้า


ไฟล์แนบ
.pdf   การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารกำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดน้อยหน่าเพื่อการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า.pdf (ขนาด: 492.59 KB / ดาวน์โหลด: 936)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม