10-12-2015, 04:02 PM
การจำแนกชนิดของราสกุล Botryosphaeria สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Botryosphaeria ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 17 ตัวอย่าง จากพืชทั้งหมด 6 ชนิด ในจังหวัดกำแพงเพชร กรุงเทพฯ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี สกลนคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสุโขทัย ตัวอย่างโรคพืชที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber และโดยวิธีการแยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค ผลจากการศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาจำแนกได้รา Lasiodiplodia theobromae จากมังคุด (2 ไอโซเลท) องุ่น (2 ไอโซเลท) มะม่วง (1 ไอโซเลท) กล้วย (2 ไอโซเลท) และมะเม่า (1 ไอโซเลท), Dothiorella จากมะม่วง (2 ไอโซเลท) และ Botryosphaeria จากกิ่ง (15 ไอโซเลท) และผลแก้วมังกร (5 ไอโซเลท) (ตารางที่ 1) แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อในระดับ species และศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อต่อไป และตัวอย่างแห้งโรคพืชเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรคพืชที่กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการสำรวจรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Botryosphaeria ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 17 ตัวอย่าง จากพืชทั้งหมด 6 ชนิด ในจังหวัดกำแพงเพชร กรุงเทพฯ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี สกลนคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสุโขทัย ตัวอย่างโรคพืชที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber และโดยวิธีการแยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค ผลจากการศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาจำแนกได้รา Lasiodiplodia theobromae จากมังคุด (2 ไอโซเลท) องุ่น (2 ไอโซเลท) มะม่วง (1 ไอโซเลท) กล้วย (2 ไอโซเลท) และมะเม่า (1 ไอโซเลท), Dothiorella จากมะม่วง (2 ไอโซเลท) และ Botryosphaeria จากกิ่ง (15 ไอโซเลท) และผลแก้วมังกร (5 ไอโซเลท) (ตารางที่ 1) แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อในระดับ species และศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อต่อไป และตัวอย่างแห้งโรคพืชเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรคพืชที่กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ