ศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Curvularia eragrostidis และรา C. oryzae
#1
ศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Curvularia eragrostidis และรา C. oryzae
มะโนรัตน์ สุดสงวน, พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และอมรรัชฏ์ คิดใจเดียว
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

      
          เก็บตัวอย่างโรคพืชจากแปลงปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช และแปลงปลูกกล้วยไม้จากจังหวัดนครปฐม ได้ตัวอย่างโรคพืช จำนวน 38 ตัวอย่าง และสามารถแยกราสกุล Curvularia ได้จำนวน 15 ไอโซเลท ทำการเก็บสายพันธุ์บริสุทธิ์เพื่อจัดจำแนกชนิดต่อไป และได้ตัวอย่างแห้งโรคพืชเข้าพิพิธภัณฑ์โรคพืช จำนวน 38 ตัวอย่าง นำรา C. eragrostidis ที่แยกได้จากกล้วยไม้ จำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ F028(5) F028(6) และ F029(4) มาทำการทดสอบชนิดอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของรา จากการทดสอบพบว่ารา C. eragrostidis ไอโซเลท F028(5) มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหาร CMA F028(5) มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหารทั้ง 6 ชนิด และ F029(4) มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหาร CMA และ CZA และเมื่อนำราทั้ง 3 ไอโซเลท มาทดสอบกับอุณหภูมิต่างๆ ได้แก่ 25 30 35 40 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้องปฏิบัติการพบว่ารา C. eragrostidis ทั้ง 3 ไอโซเลท มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่ไม่เจริญที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และนำรา C. oryzae ที่แยกได้จากปาล์มน้ำมัน จำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ P001 P002 และ P003 มาทำการทดสอบชนิดอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของรา จากการทดสอบพบว่ารา C. oryzae ไอโซเลท P001 และ P002 มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหาร CMA ยกเว้น ไอโซเลท P003 เจริญเติบโตได้ดีที่สุดบนอาหาร CZA และเมื่อนำราทั้ง 3 ไอโซเลท มาทดสอบกับอุณหภูมิต่างๆ ได้แก่ 25 30 35 40 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้องปฏิบัติการ พบว่ารา C. oryzae ทั้ง 3 ไอโซเลท มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส แต่ไม่เจริญที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส


ไฟล์แนบ
.pdf   126_2561.pdf (ขนาด: 1.17 MB / ดาวน์โหลด: 1,672)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม