10-21-2019, 11:17 AM
ศึกษาชนิดและเขตการแพร่กระจายของรา Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว และมะโนรัตน์ สุดสงวน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เก็บตัวอย่างผลพริกที่แสดงอาการโรคแอนแทรคโนสจากแหล่งปลูกพริกในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และตาก ระหว่างตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 ได้ตัวอย่างผลพริกที่แสดงอาการโรคแอนแทรคโนส จำนวน 40 ตัวอย่าง นำตัวอย่างไปศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อแยกเชื้อราสาเหตุโรคออกจากพืชโดยตรง (Direct observation) และโดยการแยกเชื้อจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค (Tissue transplanting) จากการแยกเชื้อและจำแนกชนิดของเชื้อราโดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐาน ในเบื้องต้นจัดกลุ่มของราตามลักษณะรูปร่างของโคนิเดีย ได้ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มโคนิเดียรูปร่างทรงกระบอกหรือกระสวยตรง 2.กลุ่มโคนิเดียรูปร่างโค้งคล้ายพระจันทร์เสี้ยวและจัดจำแนกชนิดตามหลักเกณฑ์ของ Sutton (1980) ได้เป็น Colletotrichum gloeosporioides Colletotrichum acutatum และ Colletotrichum capsici
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว และมะโนรัตน์ สุดสงวน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
เก็บตัวอย่างผลพริกที่แสดงอาการโรคแอนแทรคโนสจากแหล่งปลูกพริกในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และตาก ระหว่างตุลาคม 2560 - กันยายน 2561 ได้ตัวอย่างผลพริกที่แสดงอาการโรคแอนแทรคโนส จำนวน 40 ตัวอย่าง นำตัวอย่างไปศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อแยกเชื้อราสาเหตุโรคออกจากพืชโดยตรง (Direct observation) และโดยการแยกเชื้อจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค (Tissue transplanting) จากการแยกเชื้อและจำแนกชนิดของเชื้อราโดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐาน ในเบื้องต้นจัดกลุ่มของราตามลักษณะรูปร่างของโคนิเดีย ได้ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มโคนิเดียรูปร่างทรงกระบอกหรือกระสวยตรง 2.กลุ่มโคนิเดียรูปร่างโค้งคล้ายพระจันทร์เสี้ยวและจัดจำแนกชนิดตามหลักเกณฑ์ของ Sutton (1980) ได้เป็น Colletotrichum gloeosporioides Colletotrichum acutatum และ Colletotrichum capsici