10-18-2019, 03:44 PM
อนุกรมวิธานมวนสกุล Nysius (Hemiptera: Lygaeidae) ในประเทศไทย
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร, จารุวัตถ์ แต้กุล, ชมัยพร บัวมาศ, เกศสุดา สนศิริ และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
มวนสกุล Nysius Dallas (Hemiptera: Heteroptera: Lygaeidae) เป็นหนึ่งในสกุลที่พบได้ทั่วไปและมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง มีรายงานว่าสำรวจพบประมาณ 109 ชนิด ทั่วโลก (Ashlock, 1967) พบทำลายพืชในกลุ่มพืชผักและดอกไม้ (Evan, 1936) สำหรับในประเทศไทยข้อมูลของมวนสกุลนี้ยังมีอยู่น้อยมาก วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อทราบชนิด ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เขตการแพร่กระจาย พืชอาหาร เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นด้านกีฏวิทยา จากการศึกษาอนุกรมวิธานมวนสกุล Nysius ในประเทศไทยระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – เดือนกันยายน 2561 โดยการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างมวนตัวห้ำสกุลนี้ จากแปลงปลูกพืชทางการเกษตร ในเขตภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งได้ทำการศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอก และวิเคราะห์ชนิด ผลการศึกษาสามารถจำแนกมวนตัวห้้ำสกุลนี้ได้ 1 ชนิด คือ Nysius dissimillis (Izzard) พบดูดกินดอก ยอดอ่อน ใบอ่อน หน่ออ่อน ของพืชผักและไม้ดอก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง แตงโม กะเพรา และดอกเบญจมาศ ซึ่งทำความเสียหายให้พืชเป็นอย่างมาก
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร, จารุวัตถ์ แต้กุล, ชมัยพร บัวมาศ, เกศสุดา สนศิริ และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
มวนสกุล Nysius Dallas (Hemiptera: Heteroptera: Lygaeidae) เป็นหนึ่งในสกุลที่พบได้ทั่วไปและมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง มีรายงานว่าสำรวจพบประมาณ 109 ชนิด ทั่วโลก (Ashlock, 1967) พบทำลายพืชในกลุ่มพืชผักและดอกไม้ (Evan, 1936) สำหรับในประเทศไทยข้อมูลของมวนสกุลนี้ยังมีอยู่น้อยมาก วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อทราบชนิด ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เขตการแพร่กระจาย พืชอาหาร เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นด้านกีฏวิทยา จากการศึกษาอนุกรมวิธานมวนสกุล Nysius ในประเทศไทยระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – เดือนกันยายน 2561 โดยการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างมวนตัวห้ำสกุลนี้ จากแปลงปลูกพืชทางการเกษตร ในเขตภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งได้ทำการศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอก และวิเคราะห์ชนิด ผลการศึกษาสามารถจำแนกมวนตัวห้้ำสกุลนี้ได้ 1 ชนิด คือ Nysius dissimillis (Izzard) พบดูดกินดอก ยอดอ่อน ใบอ่อน หน่ออ่อน ของพืชผักและไม้ดอก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง แตงโม กะเพรา และดอกเบญจมาศ ซึ่งทำความเสียหายให้พืชเป็นอย่างมาก