อนุกรมวิธานมวนตัวห้าสกุล Orius (Hemiptera: Anthocoridae) ในประเทศไทย
#1
อนุกรมวิธานมวนตัวห้าสกุล Orius (Hemiptera: Anthocoridae) ในประเทศไทย
จอมสุรางค์ ดวงธิสาร, จารุวัตถ์ แต้กุล, ยุวรินทร์ บุญทบ, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          มวนในสกุล Orius Wolff (Hemiptera: Heteroptera: Anthocoridae) จัดเป็นมวนตัวห้ำที่มีขนาดเล็กและเป็นศัตรูธรรมชำติที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง มีศักยภาพในการกินศัตรูพืชได้หลายชนิด การศึกษาอนุกรมวิธานของมวนตัวห้ำสกุลนี้มีการศึกษาโดยนักอนุกรมวิธานในหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น มีการสำรวจและวินิจฉัยมวนสกุลนี้แล้ว 7 ชนิด (Yasunaga, 1997a,b,c) สำหรับในประเทศไทยข้อมูลของมวนตัวห้ำในสกุล Orius ยังมีอยู่น้อยมาก วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อทราบชนิด ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เขตการแพร่กระจาย ศัตรูพืชที่เป็นเหยื่อของมวนตัวห้ำพืชอาศัยของศัตรูพืช เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นด้านกีฏวิทยา จากการศึกษาอนุกรมวิธานมวนตัวห้ำสกุล Orius ในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – เดือนกันยายน 2561 โดยการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างมวนตัวห้ำสกุลนี้จากแปลงปลูกพืชทางการเกษตร ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ของประเทศไทย ซึ่งได้ทำการศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอกผ่าศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ และวิเคราะห์ชนิด ผลการศึกษาสามารถจำแนกมวนตัวห้ำสกุลนี้ได้ 4 ชนิด ได้แก่ Orius dravidiensis Muraleedharan Orius tantillus (Motschulsky) Orius maxidentex Ghauri และ Orius minutus (Linnaeus) ทั้ง 4 ชนิดพบดูดกินเพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไร เป็นต้น


ไฟล์แนบ
.pdf   105_2561.pdf (ขนาด: 522.96 KB / ดาวน์โหลด: 923)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม