การประเมินศักยภาพความทนแล้งของปาล์มน้ามันลูกผสมเทเนอรา สายต้น สวก.1 ถึง สวก.16
#1
การประเมินศักยภาพความทนแล้งของปาล์มน้ามันลูกผสมเทเนอรา สายต้น สวก.1 ถึง สวก.16
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, สมพล นิลเวศน์, โสพล ทองรักทอง, ธงชัย คำโคตร, อุชฎา สุขจันทร์, สมพงษ์ สุขเขตต์ และพสุ สกุลอารีวัฒนา

          โครงการประเมินศักยภาพความทนแล้งของปาล์มน้ำมันลูกผสมสายต้นสวก.1 - สวก.16 ดำเนินการใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย (ศวพ.หนองคาย) ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ (ศวส.ศรีสะเกษ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น (ศปผ.ขอนแก่น) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน (ศวพ.น่าน) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส (ศวพ.นราธิวาส) ปัจจุบันต้นปาล์มมีอายุ 10 ปี ผลการศึกษาสมดุลน้ำในดิน ปี 2558 - 2561 พบว่า ศวพ.หนองคาย และศวพ.นราธิวาส มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับความต้องการน้ำของปาล์มน้ำมัน 3,707 และ 1,135 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนศวส.ศรีสะเกษมีสมดุลน้ำขาดแคลนเล็กน้อย 202 มิลลิเมตร ศวพ.น่าน ขาด 1,092 มิลลิเมตร ส่วนศปผ.ขอนแก่นในดินร่วนเหนียวมีปริมาณการขาดแคลนน้ำสูงกว่าในดินทรายที่มีระดับน้ำ ใต้ดินสูงกว่า โดยมีปริมาณน้ำที่ขาด 1,307 และ 35 มิลลิเมตร ตามลำดับ

          ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 2 ที่ ศวส.ศรีสะเกษให้ผลผลิตสูงสุด 3,487 กิโลกรัม/ต้น/ปี และสวก. 11 ให้ผลผลิตต่ำสุด 1,312 กิโลกรัม/ต้น/ปี ที่ศวพ.หนองคาย ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 9 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,661 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 2 ให้ผลผลิตต่ำสุด 845 กิโลกรัม/ต้น/ปี ศปผ.ขอนแก่นในชุดดินสตึก (ดินร่วนเหนียว) ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 5 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,960 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 9 ให้ผลผลิตต่ำสุด 337 กิโลกรัม/ต้น/ปี ส่วนในชุดดินน้ำพอง (ดินทราย) ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 2 ให้ผลผลิตสูงสุด 2,254 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 3 ให้ผลผลิตต่ำสุด 13 กิโลกรัม/ต้น/ปี ที่ศวพ.น่าน ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 15 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,684 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 13 ให้ผลผลิตต่ำสุด 519 กิโลกรัม/ต้น/ปี ส่วนศวพ.นราธิวาส ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 1 ให้ผลผลิตสูงสุด 2,389 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 4 ให้ผลผลิตต่ำสุด 568 กิโลกรัม/ต้น/ปี การศึกษาความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำจึงคัดเลือก สายต้นที่ให้ผลผลิตต่อต้นต่อครั้งสูงสุด และสายต้นที่ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตรวมสูงสุด จำนวนศูนย์ละ 2 สายต้น นำมาหาความสัมพันธ์ของผลผลิตกับสมดุลน้ำในดินพบว่า สายต้น สวก. 14 (ศวส.ศรีสะเกษ) และสายต้น สวก. 3 (ศปผ.ขอนแก่น) แสดงความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำและผลผลิตเชิงเส้นตรง โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.50 และ 0.75 ตามลำดับ ในขณะที่สมการโพลีโนเมียลมีระดับความสัมพันธ์สูงกว่า คือ 0.98 และ 0.94 ตามลำดับ ในพื้นที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความต้องการของปาล์มน้ำมัน ความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำและผลผลิตมีระดับต่ำมาก โดยสายต้น สวก. 2 (ศวพ.หนองคาย) และสายต้น สวก. 15 มีค่าสหสัมพันธ์เชิงสมการเส้นตรง 0.39 และ 0.01 ตามลำดับ ส่วนสมการโพลีโนเมียลมีค่าสหสัมพันธ์ 0.45 และ 0.05 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ของผลผลิตยังมีข้อมูลน้อยอยู่จำเป็นต้องศึกษาต่อเพื่อให้ได้สมการที่มีจำนวนตัวอย่างมากพอ


ไฟล์แนบ
.pdf   74_2561.pdf (ขนาด: 1,012.64 KB / ดาวน์โหลด: 547)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม