06-04-2019, 10:57 AM
วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลำไยในภาคเหนือตอนบน
ทวีศักดิ์ แสงอุดม, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, นฤนาท ชัยรังษี, เกียริติรวี พันธ์ไชยศรี, จารุฉัตร เขนยทิพย์ และวัฒน์นิกรณ์ เทพโพธา
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย และสถาบันพืชสวน
ทวีศักดิ์ แสงอุดม, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, นฤนาท ชัยรังษี, เกียริติรวี พันธ์ไชยศรี, จารุฉัตร เขนยทิพย์ และวัฒน์นิกรณ์ เทพโพธา
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย และสถาบันพืชสวน
โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลำไยในภาคเหนือตอนบน ดำเนินการในแปลงลำไยเกษตรกร จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาการผลิตลำไยนอกฤดูแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 1 การทดลอง กิจกรรมทดสอบเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพลำไย 2 การทดลอง โดยกิจกรรมแรกเป็นการทดสอบเทคโนโลยีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตชักนาให้ออกดอกนอกฤดูระหว่างกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออก พบว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือทุกรายออกดอกมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก แต่มีความแตกต่างทางสถิติจำนวน 3 ราย โดยมีการออกดอกของกรรมวิธีภาคเหนือร้อยละ 34.0 - 91.90 และกรรมวิธีภาคตะวันออกร้อยละ 10.63 - 83.10 ส่วนเกษตรกรอีก 2 ราย ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านต้นทุนการใช้สารกระตุ้นการออกดอก พบว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือมีต้นทุนต่ากว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก 3 ราย โดยกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือมีต้นทุนระหว่าง 14.90 – 57.00 บาท/ต้น กรรมวิธีภาคตะวันออกมีต้นทุน ระหว่าง 32.56 - 64.00 บาท/ต้น และเกษตรกรที่มีต้นทุนของกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก 2 ราย โดยกรรมวิธีภาคเหนือมีต้นทุนระหว่าง 18.80 - 64.22 บาท/ต้น ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออกมีต้นทุน 17.32 - 38.12 บาท/ต้น
ส่วนกิจกรรมทดสอบเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพลำไย มี 2 การทดลอง คือ 1) การทดสอบสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชเพื่อเพิ่มการติดผลของลำไย พบว่ากรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลแต่ประสิทธิภาพไม่คงที่และผันแปรตามสถานที่และปีที่งาน การพ่นสาร uniconazole เพิ่มจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลสูงสุดและสูงกว่าการพ่นละอองเกสรตัวผู้และการพ่นสาร NAA ร้อยละ 3.40 - 37.70 การพ่นละอองเกสรตัวผู้และการพ่นสาร NAA เพิ่มจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลมากกว่าการไม่พ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชร้อยละ 5.10 - 52.28 กรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิตและคุณภาพผล แต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงานเช่นกัน 2) การทดสอบสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชเพื่อเพิ่มขนาดผลลำไยพันธุ์ดอ พบว่า การพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิตและคุณภาพผล แต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงานที่ใช้เพิ่มขนาดผลได้เมื่อเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชแต่ประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อการเพิ่มขนาดผลนั้นไม่คงที่และผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินการการพ่นสาร CPPU ทาให้ผลกว้างขึ้น 0.01 - 0.32 เซนติเมตร และมีน้าหนักเนื้อเพิ่มขึ้น การพ่นสาร GA3 มีแนวโน้มที่จะทาให้ผลมีความกว้างผลเพิ่มขึ้น 0.05 - 0.27 เซนติเมตร การพ่นสาร NAA มีแนวโน้มทาให้ความกว้างผลเพิ่มขึ้น 0.05 - 0.30 เซนติเมตร บางกรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลและคุณภาพผลแต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงาน