เทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
#1
เทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
กัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์

          โครงการวิจัยเทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตรอยู่ในแผนงานวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรพันธุกรรมพืช แบ่งเป็น 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช และ กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในสภาพปลอดเชื้อ โดยกิจกรรมแรกเป็นการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืชในลักษณะเมล็ดเชื้อพันธุ์ ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักคะน้า และผักกาดฮ่องเต้ เพื่อการอนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ผลการทดลองเป็นดังนี้ 1.ที่อุณหภูมิ 5๐C และ -10๐C ของการเก็บรักษามีเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดผักและความเข็งแรงมากกว่าเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 25๐C 2.สำหรับวิธี Control แสดงผลมีเปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรงสูงสุดตามด้วยวิธี SSAAT, AAT และ CD ตามลำดับ 3.เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมไม่สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25๐C เก็บได้เพียง 21 เดือน 4.สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักทั้ง 5 ชนิด สามารถเก็บรักษาได้ดีกว่าในอุณหภูมิ -10๐C และ 5๐C สามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 33 เดือน ส่วนการเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ผักทั้ง 5 ชนิดในสภาพ -196๐C พบว่าเมล็ดพันธุ์ผักทั้ง 5 ชนิดที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อมาทดสอบการรอดชีวิตภายหลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวมีอัตราการรอดชีวิตเป็น 100% ทุกการทดลอง สำหรับการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เดือย พบว่าระดับความชื้นในเมล็ดก่อนการเก็บรักษาและอุณหภูมิในการเก็บรักษามีผลต่อการมีชีวิตและความแข็งแรงของเมล็ดเดือย ที่ความชื้น 8 และ 6% สามารถเก็บรักษาได้นาน 27 เดือน เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 5๐C, -10๐C และสภาพเยือกแข็ง นอกจากการเก็บที่ 5๐C สามารถลดความชื้นในเมล็ดเดือยให้เหลือ 12% หรือต่ากว่าได้โดยยังคงเก็บรักษาได้ภายในเวลา 27 เดือน สำหรับเทคนิคการเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์ชมจันทร์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชพบว่าความชื้นเมล็ดระยะเวลาการเก็บรักษามีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกทุกอุณหภูมิที่เก็บรักษา, การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เมล็ดที่ระดับความชื้น 6,8 และ 10 เก็บรักษาได้นาน 18 เดือน มีความงอด 77, 82 และ 60% ตามลำดับ ขณะที่เมล็ดไม่ได้ลดความชื้นเก็บได้นานเพียง 9 เดือน และเมื่อลดอุณหภูมิลง -196๐C เมล็ดชมจันทร์มีความงอก 83, 75, 75 และ 67% ตามลำดับ สำหรับกิจกรรมที่ 2 การอนุรักษ์พันธุกรรมอ้อยในสภาพเยือกแข็งโดยใช้ปลายยอดพบว่า การทดลองเก็บรักษาเนื้อเยื่อปลายยอดอ้อยในสภาพเยือกแข็งโดยเทคนิค Vitrification ปลายยอดอ้อยทุกพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตสูงกว่าเทคนิค Encapsulation-Vitrification และ Encapsulation-dehydration เมื่อไม่ได้แช่ในไนโตรเจนเหลว แต่เมื่อแช่ในไนโตรเจนเหลวยังไม่พบอัตราการรอดชีวิตในทุกเทคนิค สำหรับการอนุรักษ์เจตมูลเพลิงแดงและเจตมูลเพลิงขาวโดยใช้วิธีชะลอการเจริญเติบโตนั้น พบว่าอาหารสูตร MS และ half-MS สามารถชักนาให้เกิดรากได้ดีและง่ายต่อการย้ายออกปลูกในธรรมชาติได้ง่าย เมื่อทดลองสูตรอาหารเพื่อชะลอการเจริญเติบโต พบว่าอาหารสูตรที่สามารถอนุรักษ์พืชนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 7-10 เดือน ได้แก่ อาหารสูตร MS ที่เติมน้ำตาล sucrose 2-3% ร่วมกับการเติม Manitol 0-1% สำหรับการทดลองอนุรักษ์ดองดึงโดยวิธีการชะลอการเจริญเติบโตในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าการขยายปริมาณเหง้าของดองดึงในสภาพปลอดเชื้อสามารถทาได้โดยใช้ชิ้นส่วนของยอดดองดึงในอาหาร MS + NAA 4mg/L + BA 4 mg/L และการเก็บรักษาเหง้าดองดึงในสภาพปลอดเชื้อเก็บได้นานถึง 9 เดือน สำหรับมันเทศ พบว่าเทคนิคการเก็บรักษามันเทศทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยวิธี Slow growth สามารถเก็บรักษาในอาหารสูตร ½MS ที่เก็บน้ำตาลซูโครส 30 กรัม/ลิตร สูตรอาหาร MS ที่เติม ABA 2-6 มก./ลิตร และสูตรอาหาร MS ที่เติม ancymidol 10μmolได้นาน 9 เดือนขึ้นไป ส่วนสูตรอาหาร MS ที่เติม Manitol1 % สามารถเก็บรักษาได้นาน 6 เดือน

          สำหรับการอนุรักษ์เผือกในสภาพเยือกแข็งด้วยวิธี Vitrification พบว่าสาร cryprotectant ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาปลายยอดเผือก คือสาร PVS3 และระยะเวลาที่เหมาะสมในการแช่ คือ 30 นาที ทาให้มีอัตราการรอดชีวิตของเผือกไข่ เผือกอ้อย เผือกหอมดอยมูเซอ และเผือกหอมพะเยา คือ 49.5, 64.1, 52.7 และ 59.5% ตามลำดับ หลังเพาะเลี้ยงบนอาหาร MS 4 สัปดาห์


ไฟล์แนบ
.pdf   27_2561.pdf (ขนาด: 7.74 MB / ดาวน์โหลด: 1,551)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม