04-18-2019, 11:27 AM
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย, Thrips palmi Karny ในมะเขือเปราะ
สุชาดา สุพรศิลป์, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, นลินา ไชยสิงห์, สิริกัญญา ขุนวิเศษ และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
สุชาดา สุพรศิลป์, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, นลินา ไชยสิงห์, สิริกัญญา ขุนวิเศษ และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย, Thrips palmi Karny ในมะเขือเปราะ ดำเนินการทดลองในเดือนพฤษภาคม 2560 ที่แปลงมะเขือเปราะของเกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Desize มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ สาร spinetoram 12 % SC, emamectin benzoate 1.92 % EC, white oil 67% EC และ abamectin 1.8% EC อัตรา 10, 20, 100 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสาร fipronil 5 % SC อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีต่างๆ เมื่อมะเขือเปราะอายุ 72 วัน ก่อนพ่นสารพบการระบาดของเพลี้ยไฟฝ้าย 8.18 - 11.13 ตัว/ดอก ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ หลังพ่นสารครั้งที่ 1 และ 2 พบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันคือ มีฝนตกหนักตลอดช่วงดำเนินการทดลอง ทำให้การระบาดของเพลี้ยไฟฝ้ายในแปลงไม่สม่ำเสมอ และลดลงอย่างต่อเนื่อง และต้นมะเขือเปราะแก่เริ่มโทรม ไม่สามารถดำเนินการทดลองใหม่ได้ ดังนั้นในปี 2561 ต๎องทำการทดลองใหม่จำนวน 2 แปลง และเริ่มทดลองให้เสร็จก่อนจะถึงฤดูฝน