การจัดทำมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตผลทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์
#1
การจัดทำมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตผลทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์
กฤชพร ศรีสังข์

          โครงการวิจัยการจัดทำมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตผลทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม 6 การทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งผลิต สร้างฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหลินลับแล ลางสาดอุตรดิตถ์ และสับปะรดห้วยมุ่น จัดทำคู่มือควบคุมการผลิตสินค้าดังกล่าวให้มีคุณภาพ ดำเนินการปี 2558 - 2559 คัดเลือกเกษตรกรร่วมโครงการวิจัยแบบเจาะจง พืชละ 50 ราย รวมเกษตรกร 150 ราย สำรวจและจัดทำแผนที่แสดงแหล่งผลิต บันทึกพิกัดแปลง สัมภาษณ์เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร บันทึกข้อมูลคุณภาพผลผลิต จัดทำระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต พบว่าทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหลินลับแล และลางสาดอุตรดิตถ์ ใน อ.ลับแล อ.เมือง อ.ท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แปลงปลูกเป็นพื้นที่ลาดชั้นเชิงซ้อน (Sc) ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนเหนียว เขตดินชื้น (กลุ่มชุดดินที่ 62) ส่วนสับปะรดห้วยมุ่น พื้นที่ปลูกแปลงเกษตรกรมีพื้นที่อยู่ใน กลุ่มชุดดินที่ 62 ได้แก่ ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) และชุดดินท่ายาง (Ty) กลุ่มชุดดิน 40 ได้แก่ ชุดดินจักราช (Ckr) ซึ่งลักษณะดินของแต่ละพื้นที่มีความเหมาะสมกับพืชนั้นๆ ทำให้ผลผลิต ไม้ผลดังกล่าวมีลักษณะเด่น รสชาติดี ซึ่งแตกต่างจากผลผลิตในแหล่งภูมิศาสตร์อื่น ได้ฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตพืช 3 ฐานข้อมูล และคู่มือควบคุมการผลิตพืชทั้ง 3 ชนิด เป็นเอกสารสนับสนุนการจดทะเบียนขอรับรองสินค้าตามพระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อคุ้มครองคุณภาพ คุ้มครองชื่อเสียงและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


ไฟล์แนบ
.pdf   32_2559.pdf (ขนาด: 4.09 MB / ดาวน์โหลด: 920)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม